ลูกนอกสมรส มีสิทธิ์ได้รับมรดกไหม

          �������稨�ԧ���������Ѻ�ѹ �ʴ�������� ���⨷���繼�������Դ��ҧ������ ��⨷��Ѻ�ҧ�����㨡�����հҹ��繺Դ���кصõ�͡ѹ��������� �ҵ�� 1629 ��觻����š���������оҳԪ�� ��觺ѭ�ѵԶ֧�Դ���ôҡѺ�ص�����繷��ҷ��觡ѹ��Сѹ��� ���¶֧�Դ���кصõ�͡ѹ����������ԩй�鹡�����繷��ҷ ���������Է���Ѻ�ô���觡ѹ��Сѹ �صù͡�����·��Դ��Ѻ�ͧ���ǹ�� �ҵ�� 1627 �ѭ�ѵ����������繼���׺�ѹ�ҹ����͹�Ѻ�ص÷��ͺ���¡����� �������������觻����š����¹�� ������ �ԴҡѺ�ص÷�����ͺ���¡����¹�鹵������������Է�����˹�ҷ���������µ�͡ѹ ���������Է���Ѻ�ô���觡ѹ��Сѹ�������ҵ�Ҵѧ������繺��ѭ�ѵ��ҧ���¡������ص÷�����ͺ���¡�������Դ��Ѻ�ͧ���� ������Է�����Ѻ�ô��ͧ�Դ� �֧��ͧ�դ�������觤�Ѵ �����º����ѭ�ѵ��������� ���������繼���׺�ѹ�ҹ����͹�Ѻ�ص÷��ͺ���¡����� ��������š����¹������ѭ�ѵ����������繺Դ��ªͺ���¡����´��� �������������������繺Դ���кص÷��ͺ���¡����«�觡ѹ��Сѹ��������š����¹����Ҩ��к�������Ѵ�蹹�� �й�� ⨷��֧������Է���Ѻ�ô��ҧ�����㨷���Դ�ҡ�ҧʧǹ (��ҧ�աҷ�� 1271/2506 ����ԹԨ����·���Ъ���˭�)

เฟซบุ๊กแฟนเพจ "ทนายคู่ใจ" โดย นายรณณรงค์ แก้วเพ็ชร์ ทนายความชื่อดัง ได้โพสต์ข้อความ อธิบายข้อกฎหมาย ตอบข้อสงสัยที่ว่า บุตรนอกสมรสมีสิทธิ์รับมรดกหรือไม่ โดยระบุว่า คู่รักที่อยู่กินกันฉันสามีภรรยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน แล้วมีบุตร คือบุตรนอกสมรส ถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายหญิงแต่เพียงผู้เดียว

ดังนั้น เมื่อเห็นว่าบิดามีการอุปการะเลี้ยงดู ส่งเสียให้การศึกษาหรือให้ใช้นามสกุล ซึ่งถือเป็นการรับรองโดยพฤติการณ์หรือโดยพฤตินัยแล้ว เด็กก็จะมีสิทธิ์ได้รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมของพ่อ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1627 และบุตรนอกสมรส ที่บิดารับรองแล้วถือว่าเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิ์ได้รับมรดก

อย่างไรก็ตาม คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1285/2508 ระบุว่า บุตรนอกสมรสที่บิดายังมิได้จดทะเบียนรับรองบุตร แต่มีพฤติการณ์เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าเป็นบุตรนั้น มาตรา 1627 บัญญัติให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเสมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย มีสิทธิเพียงรับมรดกบิดาได้ตามมาตรา 1629 (1) เท่านั้น ส่วนบิดาไม่มีกฎหมาย บัญญัติให้มีสิทธิและหน้าที่ต่อบุตรนอกสมรสที่ยังมิได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรแต่ประการใด.

หลักฐานทางทะเบียนราษฎรระบุว่า โจทก์เป็นบุตรของ ข. กับ บ. สำเนาทะเบียนบ้านซึ่งเป็นเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้น จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127 โจทก์ต้องมีพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักมั่นคงและน่าเชื่อถือมานำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวจึงจะรับฟังได้ตามข้อกล่าวอ้างของโจทก์

ข้อเท็จจริงในคดีดังกล่าวมีดังนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7272/2562

โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 11303 เป็นสินสมรสของนายสีกับจำเลยที่ 1 ให้ตกเป็นกองมรดกของนายสีกึ่งหนึ่ง ให้สัญญาจำนองที่ดินของจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ไม่ผูกพันที่ดินส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของนายสี และตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ให้แบ่งทรัพย์มรดกของนายสีแก่โจทก์ตามที่โจทก์ครอบครอง หรือตามเนื้อที่ที่เจ้าพนักงานที่ดินจัดทำขึ้นตามคำสั่งศาล หากจำเลยที่ 1 เพิกเฉย ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1

จำเลยทั้งสองให้การขอให้ยกฟ้อง

ระหว่างพิจารณา จำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย นายอุทัย ผู้จัดการมรดกของจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 11303 เป็นสินสมรสของนายสี กับจำเลยที่ 1 และให้ตกเป็นกองมรดกของนายสีกึ่งหนึ่ง ให้แบ่งกองมรดกของนายสีให้แก่โจทก์ในฐานะทายาทนายสีตามส่วน ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

จำเลยที่ 1 อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 1 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติในชั้นนี้ได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายสี เจ้ามรดก มีบุตรด้วยกัน 5 คน เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2553 ที่ดินพิพาท คือ ที่ดินโฉนดเลขที่ 11303 มีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ เป็นสินสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับจำเลยที่ 1 ซึ่งกึ่งหนึ่งของที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกที่ตกทอดแก่ทายาทของเจ้ามรดก

ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ที่ได้รับอนุญาตให้ฎีกามีว่า โจทก์เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกหรือไม่ เห็นว่า โจทก์กล่าวอ้างว่า โจทก์เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกเนื่องจากโจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว จึงเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627, 1629 (1) ดังนั้น โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ให้ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามมาตรา 1627 ซึ่งประกอบด้วยข้อเท็จจริง 2 ส่วน ส่วนแรกคือ ข้อเท็จจริงที่ว่า โจทก์เป็นบุตรของเจ้ามรดก และส่วนที่สองคือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์ของเจ้ามรดกที่รับรองว่าโจทก์เป็นบุตรของตน เช่น เจ้ามรดกเป็นผู้แจ้งเกิดให้แก่โจทก์ว่าโจทก์เป็นบุตรของตน ยอมให้ใช้ชื่อสกุล เป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูและส่งเสียให้การศึกษาเล่าเรียน ตลอดจนแนะนำและแสดงออกแก่บุคคลทั่วไปอย่างเปิดเผยว่าโจทก์เป็นบุตร ในข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์เป็นบุตรของเจ้ามรดกนั้น ปรากฏจากหลักฐานทางทะเบียนราษฎรว่า โจทก์เป็นบุตรของนายแข้น กับนางบุญชู เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้น จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

บุตรนอกสมรส คือ บุตรที่เกิดแก่บิดากับมารดา ที่อยู่กินกันเป็นสามีภริยา โดยมิได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย (แม้จัดพิธีมงคลสมรสใหญ่โต หรือพาออกสังคมแสดงตนว่าเป็นสามีภรรยากันก็ตาม)  ซึ่งบุตรที่เกิดมานี้ จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของมารดาแต่เพียงผู้เดียว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1546 และความสัมพันธ์ระหว่างบิดากับบุตรนอกสมรสนั้น กฎหมายไม่นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบิดาและบุตร (ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1561-1584/1) มาใช้บังคับ เพราะไม่ใช่บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดา

บุตรนอกสมรสกลายเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดา มี 3 วิธี (ป.พ.พ. มาตรา 1547) คือ
1) บิดามารดาจดทะเบียนสมรสกัน บุตรจะมีฐานะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ตั้งแต่วันที่บิดามารดาจดทะเบียนสมสรกัน
2) บิดายื่นขอจดทะเบียนรับรองบุตร จะต้องให้บุตรและมารดาบุตรยินยอม (แต่ไม่จำเป็นต้องให้คู่สมรสของฝ่ายชายต้องยินยอมด้วย)
3) มีคำพิพากษาจากศาลว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย

ส่วนกรณีของบุตรที่บิดาได้รับรองว่าเป็นบุตร (โดยพฤตินัย มิได้จดทะเบียนรับรองบุตร) เช่น การแจ้งเกิด การให้ใช้นามสกุล การส่งเสียอุปการะเลี้ยงดู หรือการแสดงเปิดเผยแก่บุคคลทั่วไปว่าเป็นบุตรของตน เป็นต้น ซึ่งบุตรนอกสมรสที่บิดารับรองแล้วนี้ จะเกิดสิทธิและหน้าที่กันตามกฎหมายระหว่างบุตรและบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ปัจจุบันนี้ คำพิพากษาศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้เป็นบรรทัดฐานว่า “เฉพาะในเรื่องสิทธิในการรับมรดก ไม่จำเป็นต้องให้ศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาก่อน เพียงแต่มีพฤติการณ์ว่าบิดาเคยให้การรับรองว่าเด็กเป็นบุตรของตนไว้อย่างไร บุตรนอกกฎหมายหรือบุตรนอกสมรสนั้นก็ถือว่าเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดกของบิดาได้” (คำพิพากษาฎีกาที่ 452/2553 การที่จำเลยให้ผู้เยาว์ใช้ชื่อสกุลของจำเลย และอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์อย่างบิดากับบุตร ไม่ใช่เหตุที่จะทำให้ผู้เยาว์เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยได้ จำเลยจึงไม่มีอำนาจปกครองผู้เยาว์)

บุตรนอกสมรสที่บิดายังมิได้จดทะเบียนรับรองบุตร แต่มีพฤติการณ์เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าเป็นบุตรนั้น มาตรา 1627 บัญญัติให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเสมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย มีสิทธิเพียงรับมรดกบิดาได้ตามมาตรา 1629(1) เท่านั้น ส่วนบิดาไม่มีกฎหมายบัญญัติให้มีสิทธิและหน้าที่ต่อบุตรนอกสมรสที่ยังมิได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรแต่ประการใด ดังนี้ บุตรนอกสมรสที่บิดาจดทะเบียนรับรองบุตร กับ บุตรนอกสมรสที่บิดารับรอง จึงมีสิทธิเหมือนกันซึ่งบุตรนอกสมรสที่บิดารับรอง(โดยพฤตินัย) แล้ว ก็คงมีสิทธิได้รับมรดกในฐานผู้สืบสันดานเช่นกัน

คำพิพากษาฎีกาที่ 452/2553

ป.พ.พ มาตรา 1547 บัญญัติว่า เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกันจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร ดังนี้ พฤติการณ์รับรองว่าผู้เยาว์เป็นบุตร เช่น การให้ผู้เยาว์ใช้ชื่อสกุลของจำเลย และการที่จำเลยอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์อย่างบิดากับบุตรจึงไม่ใช่เหตุที่กฎหมายรับรองทำให้ผู้เยาว์เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยได้ จำเลยจึงไม่ใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้เยาว์

ลูกนอกสมรสได้รับมรดกไหม

สรุปได้ว่า บุตรนอกกฎหมายที่จะมีสิทธิรับมรดกของบิดานอกกฎหมายต้องเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองเท่านั้นตามที่ได้กล่าวมาในข้างต้น แต่ถ้าเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดายังไม่ได้รับรองไม่มีสิทธิได้รับมรดกของบิดานอกกฎหมาย ฉะนั้น หากท่านผู้อ่านท่านใดที่เป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดายังไม่รับรอง ก็ควรที่จะรีบดำเนินการโดยทางใดทางหนึ่งที่จะ ...

พ่อมีสิทธิรับมรดกลูกไหม

บิดาสายโลหิต สิทธิรับมรดกของบุตรนอกกฎหมาย บิดาตามสายโลหิตหรือตามความเป็นจริงแม้จะมีชื่อในสูติบัตรว่าเป็นบิดาและให้ใช้นามสกุลก็ตามหากไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาบุตรหรือจดทะเบียนรับรองบุตรก็ยังไม่มีฐานะเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นทายาทโดยธรรมที่จะรับมรดกของบุตรได้

บุตรนอกสมรสจะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาเมื่อใด

มาตรา 1547 เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร

ลูกนอกสมรสคืออะไร

บุตรนอกกฎหมาย (illegitimate children, l'enfant naturel) หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าบุตร นอกสมรส หมายถึง บุตรที่เกิดจากมารดาที่มิได้จดทะเบียนสมรสกับบิดา5 (child born out of wedlock) กรณีนี้เป็นการมองความสัมพันธ์ในแง่บุตรกับบิดาโดยสายโลหิต เนื่องจากเด็กที่เกิดมา นี้ ตามกฎหมาย6ถือว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของมารดาเสมอ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก