เปรียบเทียบ Shopee Lazada JD Central

เมื่อแพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์มีขึ้นเยอะมากมาย ก็เป็นเรื่องราวดีๆ เพราะนักช้อปอย่างเราได้กำไรไปเต็มๆ เพราะไม่ว่าจะเลือกใช้แอปไหนก็มีข้อดีแตกต่างกันออกไป แพลตฟอร์มหรือร้านค้าหลักที่มาแรงในตลาดหนีไม่พ้น Lazada (ลาซาด้า) และ Shopee (ช้อปปี้) ซึ่งทั้งสอง จะช้อปลาซาด้าและช้อปปิ้งออนไลน์ Shopee ก็มีโปรเด็ดขนมาประชันกันเพียบ แล้วแบบนี้จะเลือกช้อปกับแอปไหนดีนะ เพื่อให้คุณได้ช้อปกันแบบสบายใจและคุ้มค่าที่สุด ShopBack Blog รวบรวมความแตกต่างเปรียบเทียบแอปช้อปปิ้งลาซาด้าและการช้อปสินค้า Shopee มาฝากแบบเจาะลึก! จัดเต็ม! รักแอปไหน ชอบแอปไหน ก็เลือกช้อปกัน ผ่าน ShopBack ได้เงินคืนด้วยทั้งคู่เลย

คลิกสมัครใช้ ShopBack          รับข่าวสารเงินคืน          แชร์โปร เก็บดีล 

แอปพลิเคชั่น Shopee เป็นยังไง?

ความประทับใจแรกกับแอปช้อปปิ้งออนไลน์ Shopee คือ สีสันสดใสสะดุดตา เมื่อเข้ามาหน้าแรกจะเจอกับแบนเนอร์โปรโมชั่นและดีลเด็ดในช่วงนั้น อย่างเช่น ตอนนี้เป็นคิวของโปรวันคนโสด 11.11 ซึ่งโปรโมชั่นก็จะหมุนเวียนเปลี่ยนไปไม่ซ้ำกันเลย ชวนให้ผู้ใช้งานต้องเข้ามาติดตามอย่างต่อเนื่อง

ส่วนแถบเมนูด้านบนสุดจะมีช่องค้นหาร้านค้าและสินค้า Shopee พร้อมฟังก์ชั่นค้นหาจากรูปที่เพิ่มเข้ามาใหม่ล่าสุด นอกจากนี้ยังมีเมนูลัดไปยังโปรโมชั่น ดีล และหมวดหมู่สินค้าต่างๆ ที่แยกเป็นระเบียบชัดเจน

ในส่วนของเมนูลัดที่นิยมที่สุดก็คือการกดรับโค้ดส่งฟรีประจำเดือน ยิ่งใครใช้ Airpay Wallet ในการจ่ายเงินภายในแอปก็จะมีโค้ดส่งฟรีพิเศษนอกเหนือจากโค้ดประจำเดือนให้เพิ่มเติมอีกด้วย จากนั้นจะพบกับแถบ Flash Sale ดีลเด็ด ดีลด่วน ลดฟ้าผ่าประจำวัน ใครที่ชอบซื้อของลดราคาแบบจัดหนักต้องห้ามพลาดเลยค่ะ

เมื่อเลื่อนลงมาจะพบกับเมนูสินค้าขายดีประจำสัปดาห์และฟีเจอร์ Shopee Live สำหรับให้ร้านค้ามาไลฟ์สดขายของบนแอปกันได้เลย ไม่ต้องไลฟ์ผ่านเฟซบุ๊กอีกต่อไป ดูไลฟ์ปุ๊บถูกใจสินค้าชิ้นไหนก็กดเข้าร้านไปสั่งซื้อได้ทันที

ส่วนฟีเจอร์อื่นๆ ก็มีทั้งแถบสินค้าแนะนำประจำวัน แนะนำสินค้าจาก Shopee Mall และสินค้าจากร้านค้าต่างๆ ซึ่งประเภทสินค้าที่แสดงในหน้าแรกนี้ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าหมวดหมู่ที่เราคลิกไปดูบ่อย หรือสินค้าที่ทางแอปเห็นว่าเรามีแนวโน้มจะสนใจค่ะ

ShopBack Tips : ไม่ว่าจะเป็นแอปช้อปลาซาด้าหรือ Shopee ต่างก็มีข้อดีและฟีเจอร์เด่นๆ แตกต่างกันออกไป เรื่องโปรโมชั่นที่จัดก็คุ้มค่าไม่แพ้กันเลยนะคะ ดังนั้น ลองเลือกแอปที่เราชอบและคิดว่าใช้คล่องมือที่สุด แล้วอย่าลืมมาแชร์ประสบการณ์ช้อปปิ้งออนไลน์ของคุณกับ ShopBack Blog กันบ้างนะ

โควิด-19 ทำให้ภาพรวมขายออนไลน์โตกระฉูด ล่าสุดปี 2564 ลาซาด้า แจ้งมีกำไร 226 ล้านบาทครั้งแรกในรอบเกือบ 10 ปี ช้อปปี้ แจ้งรายได้รวม เติบโต 129% เจดี เซ็นทรัล มีรายได้รวม 7,443 ล้านบาท ยังห่างจากเจ้าตลาด

ลาซาด้า แจ้งมีกำไรจากการทำธุรกิจ

Brand Inside สำรวจข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าพบว่า บริษัท ลาซาด้า จำกัด แจ้งรายได้รวม 14,675 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 46% กำไรสุทธิ 226 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 105% ถือเป็นการแจ้งกำไรครั้งแรกนับตั้งแต่ส่งงบประมาณเมื่อปี 2558 ที่มีรายได้รวม 3,197 ล้านบาท และขาดทุนสุทธิ 1,958 ล้านบาท

ในปี 2564 ลาซาด้า มีการทำแคมเปญต่าง ๆ มากมาย พร้อมดึงดาราดังระดับสากลมาเป็นพรีเซนเตอร์ เช่น ฮยอนบิน ดาราเกาหลี และ Seventeen วงศิลปิน K-Pop นอกจากนี้ยังร่วมมือกับช่อง One จัดทำ LAZ iCON รายการแข่งขันบอยกรุ๊ปช่วยกระตุ้นตลาดในช่วงไตรมาส 4

ด้านภาพรวมกลุ่มธุรกิจลาซาด้าในประเทศไทย ทางบริษัทมีการยกระดับระบบ Fulfillment ให้ส่งสินค้าได้เร็ว และมีประสิทธิภาพ พร้อมกับดึงแบรนด์สินค้าชั้นนำเข้ามาอยู่ในระบบเพื่อทำตลาดได้ง่ายขึ้น ส่วนฝั่งผู้ค้าทั่วไป มีการกระตุ้นตลาดด้วยฟีเจอร์ไลฟ์ และการให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ หากเข้ามาร่วมแคมเปญการขาย

ช้อปปี้ รายได้รวมเติบโตถึง 129%

ต่อที่ บริษัท ช้อปปี้ (ประเทศไทย) จำกัด ที่ปี 2564 แจ้งรายได้รวม 13,322 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 129% ขาดทุนสุทธิ 4,972 ล้านบาท มากขึ้น 19% ถือเป็นครั้งแรกที่ ช้อปปี้ ทำรายได้รวมทะลุ 10,000 ล้านบาทได้ เพราะนับตั้งแต่ปี 2558 ตามข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ช้อปปี้ เคยทำรายได้รวมสูงสุดที่ 5,812 ล้านบาท ในปี 2563

ในปี 2564 ช้อปปี้ มีการทำตลาดอย่างต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นยอดขายไม่ต่างกับ ลาซาด้า โดยสิ่งที่คล้ายกันคือการใช้พรีเซนเตอร์ดาราระดับสากล เช่น เฉินหลง สวนดาราในไทยใช้ แจ๊ส-ชวนชื่น กับการซื้อเวลาช่องโทรทัศน์ต่าง ๆ เพื่อจัดกิจกรรมกระตุ้นยอดในแคมเปญเลขวันกับเดือนตรงกัน เช่น 9.9 และ 11.11 เป็นต้น

สำหรับปี 2564 ทางกลุ่มช้อปปี้มีการเคลื่อนไหวในหลากหลายมุมธุรกิจ เช่น ช่วงปลายปีเริ่มโปรโมท Shopee Food บริการฟู้ดเดลิเวอรี นอกจากนี้ยังเปลี่ยนแบรนด์บริการทางการเงินจาก AirPay เป็น Shopee Pay เพื่อเพิ่มความเป็นหนึ่งเดียวกัน เป็นต้น

เจดี เซ็นทรัล ถึงโตแต่ยังถูกทิ้งห่าง

ปิดท้ายที่ เจดี เซ็นทรัล อีกแพลตฟอร์มที่เกิดจากบริการขายออนไลน์ชั้นนำของจีนร่วมกับหนึ่งในผู้นำธุรกิจค้าปลีกไทย ที่ปี 2564 มีรายได้รวม 7,443 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 113% แต่ขาดทุนสุทธิ 1,930 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 40% อาจเพราะตัวองค์กรมีการทำโปรโมชันต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นยอดขายให้ใกล้เคียงกับ 2 ผู้นำ

ในทางกลับกัน เจดี เซ็นทรัล กลับไม่ใช่พรีเซนเตอร์ดาราดังในการช่วยทำตลาดมากนัก เพราะในแคมเปญต่าง ๆ จะเห็นน้องหมาสีขาว หรือมาสคอตของแบรนด์ในการสื่อสาร พร้อมกับใช้อินฟลูเอนเซอร์หลากหลายรายในการช่วยกระตุ้นยอดขายโดยตรงแทน

อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบในแง่แบรนด์ และการเป็นที่รู้จัก เจดี เซ็นทรัล ยังอยู่ห่าง ลาซาด้า กับ ช้อปปี้อยู่มาก แต่หากแผนการตลาดข้างต้นประสบความสำเร็จ และสามารถจูงใจผู้บริโภคได้มากขึ้น ก็มีโอกาสที่ เจดี เซ็นทรัล จะเติบโต 100% และมีรายได้หลักหมื่นล้านบาทใกล้เคียงกับคู่แข่งได้เสียที

สรุป

ปี 2565 การแข่งขันของแพลตฟอร์มขายออนไลน์ หรืออีคอมเมิร์ซยังแข่งขันกันดุเดือดเช่นเดิม สังเกตจากการยิงโฆษณา และการทำแคมเปญลดราคาต่าง ๆ ซึ่งก็ต้องดูว่า ลาซาด้า จะรักษาตำแหน่งผู้นำไว้ไม่ให้ ช้อปปี้ แซงได้หรือไม่ และ เจดี เซ็นทรัล จะสามารถแข่งขันได้อย่างสูสีกับเจ้าตลาดทั้งคู่ได้อย่างไร

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก