การดูแลผู้ป่วย เบาหวาน ความดันโลหิตสูง

 คำแนะนำเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง

1) ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับโรค

                ความดันโลหิต คือแรงดันในการส่งเลือดในหลอดเลือดแดงไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ในการวัดความดันจะมีค่า 2 ค่า
           ความดันตัวบน  (แรงดันเลือดขณะหัวใจห้องซ้ายล่างบีบตัว)
           ความดันตัวล่าง (แรงดันเลือดขณะหัวใจห้องซ้ายล่างคลายตัว)

      ซึ่งในคนปกติไม่ควรจะเกิน 130/85 มม.ปรอท ระดับความรุนแรงของความดันโลหิตที่สูง  ให้พิจารณาจากค่าความดันตัวบนและความดันตัวล่าง ทั้ง 2 ค่า โดยถือระดับความดันโลหิตที่สูงกว่าเป็นเกณฑ์

ระดับความดันโลหิต

ความดันตัวบน  (ม.ม. ปรอท)

ความดันตัวล่าง   (ม.ม. ปรอท)

ระดับ 1 สูงอย่างอ่อน

140 – 159

90 – 99

ระดับ 2 สูงปานกลาง

160 – 179

100 – 109

ระดับ 3 สูงรุนแรง

ตั้งแต่ 180 ขึ้นไป

ตั้งแต่ 110 ขึ้นไป

สาเหตุ   มากกว่าร้อยละ 90 ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จะตรวจไม่พบสาเหตุ เชื่อว่าเกิดจาก 2 ปัจจัยใหญ่ คือ

กรรมพันธุ์  พบว่าผู้ที่มีบิดาหรือมารดาเป็นความดันโลหิตสูง มีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูงได้มากกว่าผู้ที่บิดามารดาไม่เป็น ยิ่งกว่านั้นผู้ที่มีทั้งบิดาและมารดาเป็นความดันโลหิตสูง จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นมากที่สุด ผู้สูงอายุก็มีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูงเมื่ออายุมากขึ้น ๆ

สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นปัจจัยที่แก้ไขได้ เช่น ภาวะอ้วน เบาหวาน การรับประทานอาหารเค็ม การดื่มสุรา และสูบบุหรี่ ภาวะเครียด

เป็นต้น

               ส่วนความดันโลหิตที่มีสาเหตุพบได้น้อยกว่าร้อยละ 10 ผู้ป่วยในกลุ่มนี้แม้จะพบจำนวนน้อยแต่ก็มีความสำคัญ

เพราะบางโรครักษาให้หายได้    และ สาเหตุที่พบบ่อย คือ   โรคไต หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงไตตีบ ยาบางชนิด  เช่น ยาคุมกำเนิด หลอดเลือดแดงใหญ่ที่ออกจากหัวใจตีบและเนื้องอกของต่อมหมวกไต เป็นต้น

อาการ    ความดันโลหิตสูงระดับอ่อน หรือปานกลาง มักจะไม่มีอาการ แต่มีการทำลายอวัยวะต่าง ๆ ไปทีละน้อยอย่างช้า ๆ จนผู้ป่วยเกิดผลแทรกซ้อนในที่สุด       เช่น หัวใจล้มเหลว หัวใจขาดเลือด ไตเสื่อมสมรรถภาพ หรืออัมพาต อัมพฤกษ์ ภาวะความดันโลหิตสูงจึงมักได้รับการขนานนามว่า   “ฆาตกรเงียบ  ความดันโลหิตสูงอย่างรุนแรง อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้

เช่น  เลือดกำเดาออก ตามองไม่เห็นข้างหนึ่งชั่วคราว เหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก เวียนศีรษะ ปวดศีรษะตุบ ๆ เป็นต้น   แต่อาการเหล่านี้ไม่จำเพาะ เพราะอาจเกิดจากสาเหตุอื่นก็ได้ เช่น ไข้ เครียด ไมเกรน เป็นต้น เมื่อเกิดอาการผิดปกติควรไปปรึกษาแพทย์ เพราะถ้าพบความดันโลหิตสูงมากจะได้รับการรักษาได้ถูกต้องและทันท่วงที ซึ่งเมื่อความดันโลหิตลดลงมาเป็นปกติ อาการดังกล่าวจะหายไป  

2) การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วย/ผู้ทีความเสี่ยง

1.      ควบคุมอาหาร  การลดน้ำหนักสามารถช่วยลดความดันโลหิตและช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด แม้ท่านจะไม่จัดว่าอ้วน แต่การลดอาหารประเภทไขมันก็เป็นสิ่งที่ดี

n  หลีกเลี่ยงหรือลดการใช้เนยไขมัน และน้ำมันในการปรุงอาหาร

n  หลีกเลี่ยงอาหารทอดให้รับประทานอาหารประเภทอบ นึ่ง ต้ม แทน

n  รับประทานอาหารประเภทผัก ถั่ว ผลไม้ ให้มากขึ้น

n  หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา

n  ดื่มน้ำ กาแฟที่ไม่มีคาเฟอีน นม พร่องไขมัน และน้ำผลไม้

2.    รับประทานอาหารที่ไม่เค็มจัด จะทำให้ความดันโลหิตสูง และไต ทำงานหนัก การลดปริมาณเกลือในอาหารควรปรึกษาแพทย์ของท่านก่อน

n  หลีกเลี่ยงอาหารประเภทของดองเค็ม เนื้อเค็ม ซุปกระป๋อง ซอสมะเขือเทศ อาหารที่โรยเกลือมาก ๆ

n  ใช้เครื่องเทศแทนเกลือ หรือผลชูรส

n  รับประทานอาหารว่าง ที่มีเครื่องหมาย เกลือต่ำ(Low Salt) หรือ ปราศจากเกลือ” (Salt – Free)

3.  หลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดอารมณ์เครียด พยายามตอบสนองอย่างมีสติ และนุ่มนวลต่อสภาพที่เครียด ซึ่งท่านไม่สามารถเปลี่ยนแปลง หรือหลีกเลี่ยงได้

4.  หยุดสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุที่สำคัญของการเกิดมะเร็งในปอด อัมพาตโรคหัวใจขาดเลือด และความดันโลหิตสูงได้ บุหรี่ทำให้เกิดการทำลาย และส่งเสริมการหดตัวของหลอดเลือดทำให้เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดอัมพาต

5.  งด หรือ ลดการดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเป็นสาเหตุของความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง ควรงดหรือดื่มในปริมาณน้อย เช่น ในวันหนึ่ง ๆ ไม่ควรดื่มสุราเกิน 60 ลบ.ซม.

6.  ออกกำลังกายแต่พอประมาณ การเดินวันละ 20 30 นาที จะช่วยท่านลดน้ำหนักได้ ช่วยทำให้ระบบไหลเวียนของเลือดดีขึ้น และป้องกันโรคของหลอดเลือดได้ ก่อนเริ่มออกกำลังกายใด  ๆ ควรปรึกษาแพทย์ของท่านก่อน

7.  รับประทานยาให้สม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง

n  แจ้งให้แพทย์ของท่านทราบถึงยาต่าง ๆ ที่ท่านรับประทานอยู่ เช่นยาคุมกำเนิด ยาแก้ปวด เป็นต้น

n  รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

n  หากมียาชนิดใดที่ทำให้ท่านรู้สึกไม่สบายใจ ควรจะแจ้งให้แพทย์ของท่านทราบทันที เพราะท่านอาจต้องการยาในขนาดที่ลดลง หรือเปลี่ยนยา

n  รับประทานยาให้สม่ำเสมอจนกว่าแพทย์ของท่านจะบอกให้หยุด

8.  ตรวจวัดความดันโลหิตสม่ำเสมอ

กรณีท่านมีเครื่องวัดความดันโลหิตที่บ้าน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเรียนรู้วิธีวัดความดันโลหิตที่ถูกต้อง

3) การป้องกันไม่ให้เกิดโรค                                           

ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

  • เลือกอาหารที่มีไขมันต่ำ อาหารไขมันต่ำ จะให้พลังงานน้อย อาหารที่ให้พลังงานมากควรหลีกเลี่ยงได้แก่ เนย น้ำสลัด เนื้อติดมัน เนื้อติดหนัง นมสด ของทอด เช่นปลาท่องโก๋ กล้วยแขก ไก่ทอด เค้ก คุกกี้ ให้เลือกอาหารที่มีพลังงานน้อยเช่น ใช้อบหรือเผาแทนการทอด เลือกไก่ไม่ติดหนัง ปลา ดื่มนมพร่องมันเนยแทนนมสด รับประทานผักให้มาก
  • เลือกอาหารที่มีแป้งและใยให้มาก 
  •  ใช้จานใบเล็กและห้ามตักครั้งที่สอง ควรจดรายการอาหารที่รับประทานทุกครั้ง ไม่ควรรับประทานอาหารว่างขณะดูทีวี ไม่ควรงดอาหารมื้อหนึ่งแล้วชดเชยมื้อต่อไป
  • ให้เพิ่มออกกำลังกายเพิ่ม การออกกำลังกายหรือการทำงานบ้านจะช่วยให้ร่างกายเผาผลาญพลังงาน ทำให้น้ำหนักลดตารางข้างล่างจะแสดงพลังงานที่ใช้ในการออกกำลังกาย

ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

·        วิธีการออกกำลังกายใช้รออกแบบ aerobic exercise มีการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่นการเดิน การวิ่ง การว่ายน้ำ ขี่จักรยาน

·        ความถี่ของการออกกำลังกาย3-5วัน/สัปดาห์

·        ระยะเวลาที่ออกกำลังกาย20-60 นาที

·        ความหนักของการออกกำลังกายอัตราการเต้นของหัวใจอยู่ที่ 60%-90%ของอัตราเต้นเป้าหมาย

เลือกอาหารที่มีเกลือต่ำ

การลดอาหารเค็มจะช่วยป้องกันและลดความดันโลหิตได้ โดยทั่วไปห้ามกินเกลือเกิน 6 กรัมหรือ 1 ช้อนชา(เท่ากับ โซเดียม 2400 มิลิกรัม) แต่แนะนำให้รับประทานเกลือ 1500 มิลิกรับเทียมเท่าปริมาณเกลือ 4 กรัมหรือ2/3 ช้อนชาท่านผู้อ่านไม่ควรปรุงรสอาหารก่อนชิมอาหาร หากปรุงรสอาหารเองต้องเติมเกลือให้น้อยที่สุด   ตัวอย่างอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง  เช่น ปลาเค็ม ไข่เค็ม ผักดอง กะปิ เต้าเจี้ยว ไตปลา เต้าหู้ยี้ ผงชูรส

จำกัดการดื่มแอลกอฮอล

จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ จากการศึกษาพบว่าปริมาณสุราที่ดื่มจะมีส่วนสัมพันธ์กับระดับความดันโลหิต สำหรับผู้ที่ดื่มสุราปริมาณปานกลาง ระดับความดันโลหิตจะลดลงในช่วง 1-2 สัปดาห์ หลังจากนั้นจะกลับสู่ปกติ สำหรับผู้ที่ดื่มสุราอย่างมาก (ประมาณห้าเท่าของที่แนะนำ) จะพบว่าระดับความดันโลหิตจะสูงหลังจากหยุดสุรา ดังนั้นจะพบว่าหลังจากดื่มสุรามากในวันหยุดจะมีความดันสูงในวันทำงาน การลดสุราจะทำให้ระดับความดันโลหิตลดลง  ผู้ชายให้ดื่มไม่เกิน 2 drink(20–30 g ethanol per day) ผู้หญิงไม่เกิน 1 drink(10–20 g ethanol per day)   1 drink เท่ากับ

1.               วิสกี้ 45 มล.

2.               ไวน์ไม่เกิน 150 มล..

3.               เบียร์ไม่เกิน300 มล.

งดสูบบุหรี่เป็นวิธีการที่ได้ผลดีในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด

จัดการเรื่องความเครียด    ควรมีการผ่อนคลายความเครียดเช่น ดูหนัง ฟังเพลง ท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ                        

ผลแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูง   ภาวะความดันโลหิตสูงที่เป็นอยู่นานและไม่ได้รับการรักษา จะทำให้เกิดการทำลายของอวัยวะสำคัญ ๆ ต่าง ๆ ในร่างกายได้      เช่น หัวใจ สมอง ไต หลอดเลือด และตา เป็นต้น   เพราะความดันโลหิตที่สูงที่เป็นอยู่นาน  จะทำให้ผนังหลอดแดงหนาตัวขึ้น และรูเล็กลง  ทำให้เลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ลดลง ส่งผลให้อวัยวะเหล่านี้ทำงานได้ไม่เป็นปกติ

1.  หัวใจ   ความดันโลหิตสูงจะมีผลต่อหัวใจ 2 ทาง    คือทำให้หัวใจโต และหลอดเลือดหัวใจหนาตัว

และแข็งตัวขึ้น ทำให้เกิดการเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด  หรือหัวใจล้มเหลวทำให้มีอาการเหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้   หรือหัวใจเต้นผิดปกติ ทำให้มีอาการใจสั่น

2.  สมอง   ความดันโลหิตสูง เป็นสาเหตุของอัมพาต อัมพฤกษ์  ซึ่งมักจะเกิดจากหลอดเลือดเล็ก ๆ อุดตัน โดยเกล็ดเลือดซึ่งพบบ่อยหรือเกิดจากหลอดเลือดในสมองแตก  ทำให้เลือดออกในเนื้อสมอง

3.  ไต  เป็นอวัยวะที่มีหลอดเลือดมากที่สุดในร่างกาย ทำหน้าที่กรองของเสีย ออกจากเลือด ความดันโลหิตสูงก็มีผลต่อหลอดเลือดที่ไต เช่นเดียวกับหลอดเลือดหัวใจ  ทำให้เลือดไปเลี้ยงที่ไตไม่เพียงพอ มีผลให้ไตเสื่อมสมรรถภาพจนถึงขั้นไตวายเรื้อรัง ผู้ป่วยจะมีอาการเริ่มแรกของภาวะไตวายเรื้อรัง  คือปัสสาวะบ่อย ตอนกลางคืน ขาบวมตอนสาย หากเป็นมากจะมี  อาการอ่อนเพลีย ไม่คอยมีแรงจากภาวะซีด   ซึ่งมักพบในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง และคลื่นไส้ อาเจียน   ซึมลงในผู้ป่วยไตวายระยะท้าย ๆ

4.  ตา   ความดันโลหิตสูงจะมีผลต่อหลอดเลือดที่ตา   เช่น เลือดออกที่จอตา หลอดเลือดเล็ก ๆ ที่จอตาอุดตัน หรือทำให้จอตาหลุดลอกออกได้ ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการใด ๆ  หรือตามัว จนถึงตาบอดได้ เบาหวาน  ซึ่งมักพบร่วมกับความดันโลหิตสูง จะทำให้เกิดผลแทรกซ้อนทางตา

5.  หลอดเลือด   ความดันโลหิตสูงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดทั่วร่างกาย ทำให้หลอดเลือดไปเลี้ยงบริเวณแขนขา และอวัยวะภายในลดลง ผู้ป่วยเดินไม่ได้ไกลเพราะปวดขาจากการขาดเลือด ต้องนั่งพักจึงจะหายและเดินต่อได้

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก