ลงทะเบียนคนว่างงานออนไลน์ได้ไหม

การว่างงาน หรือตกงานนั้นเป็นเรื่องไม่คาดฝันที่ไม่ว่าใครก็ไม่อยากเจอ แต่ถ้าหากคุณเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 33 ที่มีการจ่ายเบี้ยประกันสังคมในทุกๆ เดือน หากเกิดเหตุที่ทำให้คุณต้องว่างงานขึ้นมาล่ะก็ คุณสามารถลงทะเบียนว่างงานเพื่อขอรับสิทธิช่วยเหลือจากสำนักงานประกันสังคมได้

บทความนี้เงินติดล้อจะพาคุณมารู้จักกับขั้นตอนการลงทะเบียนว่างงาน และเงินชดเชยต่างๆ ที่คุณจะได้รับจากสำนักงานประกันสังคม มาดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง!

ขั้นตอนลงทะเบียนว่างงาน ต้องทำอย่างไรบ้าง

สำหรับการลงทะเบียนว่างงานนั้น ไม่จำเป็นต้องไปเดินเรื่องที่สำนักงานประกันสังคมด้วยตัวเองอีกแล้ว เพราะสามารถดำเนินการผ่านช่องทางออนไลน์ได้ เรามาดูกันเลยว่ามีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

  1. อันดับแรก ให้ผู้ที่ต้องการลงทะเบียนว่างงานทำการเข้าเว็บไซต์ของ กรมจัดหางาน จากนั้นทำการลงทะเบียนให้เรียบร้อยโดยใช้ข้อมูลจากบัตรประชาชน

  2. เมื่อลงทะเบียนเรียบร้อยแล้วให้ทำการยื่น แบบคำขอรับผลประโยชน์ ในกรณีว่างงาน หรือ สปส. 2-01/7 โดยจะต้องทำการแนบเอกสารประกอบอื่นๆ ส่งไปด้วย

  3. เมื่อจัดเตรียมแบบคำขอ และเอกสารอื่นๆ พร้อมแล้ว ให้ทำการส่งเอกสารต่างๆ ไปยังสำนักงานประกันสังคมได้ทุกสาขาทั่วประเทศ

หมายเหตุ: ในกรณีที่ไม่สามารถทำการลงทะเบียนว่างงานผ่านระบบออนไลน์ได้ ผู้ประกันตนก็สามารถเดินทางไปยังสำนักงานประกันสังคมพร้อมเอกสาร เพื่อดำเนินการด้วยตัวเองได้เช่นกัน

หรือทำการติดต่อสอบถามไปยังสำนักงานประกันสังคมโดยตรง ผ่านเบอร์โทรศัพท์: 1506

เอกสารที่ต้องใช้ยื่นมีอะไรบ้าง?

  1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน ในกรณีว่างงาน หรือ สปส. 2-01/7
  2. บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนา
  3. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 รูป (รูปถ่ายต้องมีอายุไม่เกิน 6 เดือน)
  4. หนังสือรองรับการออกจากงาน สำเนาการแจ้งการลาออก หรือ สปส. 6-09 (กรณีที่ไม่มีสำเนา สปส. 6-09 ก็ยังคงสามารถขึ้นทะเบียนว่างงานได้)
  5. หนังสือ หรือเอกสารแจ้งให้ออกจากนายจ้าง (หากมี)
  6. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ของธนาคาร โดยชื่อที่ระบุในหน้าสมุดบัญชีต้องเป็นชื่อของผู้ประกันตนที่ทำการลงทะเบียนว่างงาน

ลงทะเบียนว่างงาน ได้รับสิทธิอะไรบ้าง

มาดูกันว่ากรณีที่ลงทะเบียนว่างงานกับสำนักงานประกันสังคมเรียบร้อยแล้วนั้น คุณจะได้รับสิทธิชดเชยอะไรบ้าง และมีเงื่อนไขในการได้รับอย่างไร

  • กรณีถูกเลิกจ้าง

    เงื่อนไขการรับเงินชดเชย: ต้องส่งเงินประกันสังคมครบ 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนถูกเลิกจ้าง โดยต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานและรายงานตัวผ่านเว็บไซต์ empui.doe.go.th

    สิทธิที่ได้รับ: ได้รับเงินทดแทนระหว่างว่างงานร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย เป็นระยะเวลาไม่เกิน 180 วันต่อปี

  • กรณีลาออกเอง หรือหมดสัญญาจ้างงาน

    เงื่อนไขการรับเงินชดเชย: ต้องส่งเงินประกันสังคมครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนลาออก โดยต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานและรายงานตัวผ่านเว็บไซต์ empui.doe.go.th

    สิทธิที่ได้รับ: ได้รับเงินทดแทนระหว่างว่างงานร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วันต่อปี

นอกจากนี้ คุณยังสามารถใช้สิทธิสวัสดิการจากประกันสังคมต่อได้อีก 6 เดือน โดยไม่ต้องจ่ายเงินประกันสังคมภายในระยะเวลานั้น เช่น ค่าทำฟัน ค่ารักษาพยาบาล ค่าคลอดบุตร ฯลฯ

ว่างงานได้ แต่อย่าเพิ่งยอมแพ้!

เมื่ออ่านมาถึงจุดนี้ คาดว่าทุกคนก็คงจะได้ทราบกันแล้วว่ามีขั้นตอนการลงทะเบียนว่างงานกับประกันสังเพื่อรับเงินชดเชยอย่างไรบ้าง

เงินติดล้ออยากจะขอให้กำลังใจทุกคนที่กำลังว่างงานอย่าเพิ่งท้อแท้นะครับ ในช่วงที่ยังไม่มีอะไรทำทางเงินติดล้อขอแนะนำให้คุณลองอ่านบทความ “หนทางพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสของคนตกงาน” เพื่อเตรียมตัวรับสิ่งใหม่ที่จะเข้ามา อาจจะมีงานที่ดีและเหมาะสมกับคุณรออยู่ก็ได้

ต้องการเงินสดฉุกเฉิน เงินติดล้อช่วยคุณได้!

หากคุณตกงานกะทันหัน แต่จำเป็นต้องใช้เงินสดฉุกเฉิน สินเชื่อเงินติดล้อช่วยคุณได้

เรามีสินเชื่อทะเบียนรถมากมายหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นมอเตอร์ไซค์ รถเก๋ง หรือแม้แต่รถกระบะก็สามารถยื่นเรื่องขอสินเชื่อกับเราได้ สมัครสินเชื่อกับเงินติดล้ออนุมัติไว ไม่ต้องใช้คนค้ำ และไม่ต้องโอนเล่ม พร้อมให้ราคาประเมินสูงแต่อัตราดอกเบี้ยเป็นธรรมต่อลูกค้าทุกคน รับรองว่ามีเงินสดฉุกเฉินไว้ใช้ทันใจคุณอย่างแน่นอน

สนใจติดต่อทำเรื่องสินเชื่อทะเบียนรถกับเงินติดล้อ สามารถทำได้โดย

  • ติดต่อโดยตรงได้ที่เงินติดล้อทุกสาขาใกล้บ้านท่าน
  • Facebook Inbox เงินติดล้อ: facebook.com/messages/t/ngerntidlor
  • โทรเข้า Call Center เงินติดล้อ: 088-088-0880
  • หรือกรอกข้อมูลด้านล่างเพื่อรอการติดต่อกลับจากเจ้าหน้าที่

เงินติดล้อพร้อมให้บริการพี่น้องประชาชนทุกคนอย่างเต็มที่ครับ!

วิธีการขึ้นทะเบียนว่างงานออนไลน์ ขอรับเงินชดเชย

เขียนเมื่อวันที่ 26/10/2021

ขั้นตอนลงทะเบียนว่างงานออนไลน์ต้องทำยังไงบ้าง 

จากสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้มีกลุ่มคนจำนวนไม่น้อยที่ต้องประสบปัญหาตกงาน ว่างงาน หรือถูกเลิกจ้างเนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจ การขาดสภาพคล่องทางการเงินของแต่ละบริษัท ไปจนถึงการแพร่ระบาดของโรคที่ยังคงเป็นปัญหาใหญ่ ล่าสุดสำนักงานประกันสังคมได้ร่วมกับกรมการจัดหางาน ในการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกันตนที่ว่างงาน เพื่อรับประโยชน์ทดแทนจากกรณีว่างงานผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งระบบดังกล่าวเป็นบริการให้แก่ผู้ประกันตนที่ว่างงานทั้งในกรณีถูกเลิกจ้างหรือลาออกจากงาน โดยเป็นการอำนวยความสะดวกในการขึ้นทะเบียนและการรายงานตัวผ่านช่องทางออนไลน์และแอปพลิเคชันเพื่อออกหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนในกรณีว่างงาน ในการใช้เป็นหลักฐานพร้อมยื่นขอรับเงินชดเชยรายได้ว่างงานตามเงื่อนไข 

วิธีขึ้นทะเบียนว่างงานออนไลน์ ประกันสังคม

ขึ้นทะเบียนว่างงานออนไลน์

ช่องทางเว็บไซต์

  1. เข้าเว็บไซต์ //empui.doe.go.th (กรมจัดหางาน) จากนั้นลงทะเบียนเข้าใช้งานและทำการเข้าสู่ระบบ
  2. ทำการอ่านข้อตกลง จากนั้นกรอกรายละเอียดข้อมูลส่วนตัวให้ครบถ้วน และตรวจสอบข้อมูลเพื่อกดยืนยันบันทึกการขึ้นทะเบียน ซึ่งผู้ประกันตนจะได้รับหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน
  3. ทำการพิมพ์เอกสารใบนัดรายงานตัว แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส.2-01/7) และเตรียมเอกสารแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส.2-01/7) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาสมุดเงินฝากของธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารทหารไทย ธนาคารธนชาต ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ยกเว้น ธนาคารออมสินและธนาคารธกส.
  4. นำเอกสารไปยื่นที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่สาขาใกล้บ้าน ภายใน 1 เดือน นับจากวันขึ้นทะเบียน

**ผู้ลงทะเบียนต้องทำการรายงานตัวเดือนละ 1 ครั้ง ตามกำหนดนัดรายงานตัว โดยสามารถรายงานตัวได้ก่อนหรือหลังวันนัด 7 วัน หากเกินกำหนดจะถือเป็นการรายงานตัวล่าช้าทางด้านประกันสังคมจะไม่พิจารณาประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานให้

ช่องทางแอปพลิเคชัน ไทยมีงานทำ

  1. ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน ไทยมีงานทำ ผ่านระบบ App Store หรือ Play Store
  2. เลือกบุคคลธรรมดาสำหรับประชาชนทั่วไป 
  3. กดสมัครเพื่อลงทะเบียน (สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยลงทะเบียน) หรือ กดเข้าสู่ระบบ 
  4. กรอกข้อมูลส่วนตัวให้ครบ ตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องจากนั้นกดยืนยัน

นอกจากนี้ช่องทางแอปพลิเคชันยังมีสามารถตรวจเช็คข้อมูลอื่น ๆ เกี่ยวกับการว่างงานได้ ดังนี้ 

  • ตรวจสอบผลการขึ้นทะเบียนและรายงานตัวผู้ประกันตนกรณีว่างงาน
  • ตรวจสอบสถานะการรับสิทธิประโยชน์ทดแทน เช่น วันที่รายงานตัวครั้งต่อไป จำนวนเงินที่ได้รับ เป็นต้น
  • ผู้ประกันตนสามารถค้นหาตำแหน่งงานเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่ระบบแนะนำได้

เงื่อนไขการรับสิทธิ์ประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน 

สำหรับผู้ประกันตนที่ถูกเลิกจ้างหรือลาออกจากงานต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ 

  • เป็นผู้ประกันตน ประกันสังคม ที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนการว่างงาน และต้องผู้ยื่นขอรับสิทธิ์ต้องอายุไม่เกิน 55 ปี 
  • ต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของหน่วยงงานรัฐภายใน 30 วันนับแต่วันที่ว่างงาน
  • มีความสามารถในการทำงาน มีความพร้อมที่จะทำงานที่เหมาะสมตามที่รัฐจัดหาให้
  • ต้องรายงานต่อเจ้าหน้าที่สำนักจัดหางานตามที่กำหนด
  • ผู้ที่ว่างงานต้องไม่ถูกเลิกจ้างเนื่องจากกรณี ดังนี้

          - ทุจริตต่อหน้าที่ 

          - กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง 

          - จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย 

          - ฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายในกรณีร้ายแรง 

          - ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 7 วันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันควร 

          - ประมาทเลินล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง 

          - ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา

          - ต้องไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 39

สิทธิประโยชน์ทดแทนที่จะได้รับในกรณีว่างงาน

เงินทดแทนว่างงาน

กรณีถูกเลิกจ้าง 

ผู้ประกันตนจะได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย ซึ่งจะเป็นการคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท 

กรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง

ผู้ประกันตนจะได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาทและสามารถใช้สิทธิ์ประกันสังคมต่อได้อีก 6 เดือนโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย จากกรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพและกรณีเสียชีวิต 

ว่างงานจากเหตุสุดวิสัย

ผู้ประกันตนจะได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงาน 50% ของค่าจ้างรายวัน ไม่เกิน 90 วัน

นอกจากเงินทดแทนว่างงานแล้วควรวางแผนค่าใช้จ่ายให้ครอบคลุมโดยเฉพาะในเรื่องการดูแลสุขภาพในช่วงสถานการณ์โควิด กับการเลือกทำประกันภัยสุขภาพที่คุ้มครองในส่วนของค่ารักษาในยามเจ็บป่วย

สำหรับในสถานการณ์ปัจจุบันนอกจากปัญหาการว่างงานแล้วยังต้องพบเจอกับสถานการณ์ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่แพร่ระบาดเป็นวงกว้าง รวมถึงมีจำนวนผู้ติดเชื้อที่อยู่เรื่อย ๆ ดังนั้นการหันมาให้ความสำคัญในเรื่องการดูแลสุขภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งการเลือกทำประกันภัยสุขภาพและประกันภัยโควิด ที่ช่วยให้คุณอุ่นใจในเรื่องของค่ารักษาพยาบาล ค่าห้อง รวมถึงเงินชดเชยรายได้จากการนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล ฮักส์มีกรมธรรม์ประกันภัยหลากหลายที่ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ความต้องการในเรื่องของสุขภาพ ยินดีให้คำแนะนำการเลือกซื้อประกันภัยที่เหมาะสม ติดต่อฮักส์ได้ผ่านช่องทาง  Facebook Line หรือ โทร 0 2975 5855

อ้างอิงข้อมูล : สำนักงานจัดหางาน, กรมการจัดหางาน, mol.go.th


ขึ้นทะเบียนว่างงานออนไลน์ยังไง

1. เข้า Google chrome พิมพ์ URL : empui.doe.go.th หรือสแกน QR code 2. คลิก ขึ้นทะเบียนด้วยตนเองผ่านอินเตอร์เน็ต 3. คลิก (กรณีไม่เคยลงทะเบียน) ใส่เลขบัตรประจ าตัวประชาชนและก าหนดรหัสผ่าน กรณีเคยลงทะเบียน หลังจากนั้นใส่เลขบัตรประชาชน / รหัส คลิก 4. อ่านข้อตกลง คลิก® ยอมรับและเข้าใช้งาน คลิก 5. กรอกข้อมูลตามบัตรประชาชน ...

ลงทะเบียนว่างงานกี่วันถึงจะได้รับเงิน

ต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วันนับแต่วันที่ว่างงาน โดยไม่ต้องรอหนังสือรับรองการออกจากงาน เพื่อเป็นการแสดงสิทธิ์ในเบื้องต้น มีความสามารถในการทำงาน และพร้อมที่จะทำงานที่เหมาะสมตามที่จัดหาให้ ต้องไม่ปฏิเสธการฝึกงาน

ลงทะเบียนว่างงานต้องทำยังไง

แบบฟอร์มใบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน สปส 2-01/7. บัตรประจำตัวประชาชนเตรียมไว้ และสำเนาบัตรประชาชนเซ็นรับรองให้เรียบร้อย รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 1 รูป (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน) หนังสือรับรองการออกจากงาน หรือสำเนาแบบแจ้งการออกจากงาน (สปส 6-09) หรือ หนังสือหรือคำสั่งของนายจ้างที่ให้ออกจากงาน

ลงทะเบียนคนว่างงานได้ที่ไหน

ผู้ประกันตนกรณีว่างงานสามารถยื่นเอกสาร เพื่อขอรับเงินประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานได้ที่สำนักงานประกันสังคม ดังนี้ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน แบบฟอร์ม สปส 2-01/7.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก