ประชาชนจะมีอำนาจในการควบคุมผู้นำของตนโดยวิธีใด ตามรูปแบบ “การปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยตัวแทน”

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประชาธิปไตยโดยตรง[1] (อังกฤษ: direct democracy) หรือ ประชาธิปไตยบริสุทธิ์ (อังกฤษ: pure democracy)[2][3][4] เป็นการปกครองแบบประชาธิปไตย ที่ประชาชนตัดสินการริเริ่มออกกฎหมาย/นโยบายต่าง ๆ โดยตรง ไม่ว่าจะโดยออกเสียงลงคะแนนหรือลงประชามติเป็นต้น ซึ่งต่างจากรัฐประชาธิปไตยปัจจุบันโดยมากอันเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน ที่ประชาชนออกเสียงเลือกผู้แทนเพื่อทำหน้าที่ริเริ่มแล้วออกเสียงตัดสินนโยบายอีกทอดหนึ่ง[5] ในระบอบนี้ ประชาชนอาจมีอำนาจการตัดสินใจทางฝ่ายบริหาร ริเริ่มแล้วตัดสินการออกกฎหมายทางฝ่ายนิติบัญญัติ เลือกตั้งและถอดถอนเจ้าหน้าที่ และดำเนินการทางฝ่ายตุลาการ ประชาธิปไตยโดยตรงมีรูปแบบหลัก ๆ สองอย่างคือประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ

กระบวนการประชาธิปไตยที่เกี่ยวข้อง[แก้]

ประชาธิปไตยโดยตรงคล้ายกับแต่ต่างจากประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน ที่ประชาชนจะเลือกผู้แทนให้เป็นผู้ริเริ่มออกกฎหมาย[5]

ขึ้นกับระบบที่ใช้ ประชาธิปไตยโดยตรงอาจรวมการตัดสินใจทางฝ่ายบริหาร การจับสลากเลือกผู้บริหารงาน (sortition) การออกกฎหมาย การเลือกหรือไล่เจ้าหน้าที่โดยตรง และงานฝ่ายตุลาการ รูปแบบสำคัญสองอย่างของระบบนี้ก็คือประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ

มีประชาธิปไตยกึ่งโดยตรงบางรูปแบบ ที่ผู้แทนจะบริหารการปกครองวันต่อวัน ส่วนประชาชนก็ยังคงเป็นองค์อธิปัตย์และสามารถใช้อำนาจโดยตรงได้โดยสามอย่างคือ การลงประชามติ การริเริ่มออกกฎหมาย และการถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง การใช้อำนาจสองอย่างแรก คือการลงประชามติและการริเริ่มออกกฎหมาย เป็นตัวอย่างของนิติบัญญัติโดยตรง[6]

การลงประชามติโดยบังคับ (compulsory referendum) บังคับกฎหมายที่ร่างโดยอภิสิทธิชนทางการเมือง ให้อยู่ใต้อำนาจการลงคะแนนเสียงของประชาชน เป็นรูปแบบสามัญที่สุดของนิติบัญญัติโดยตรง ส่วน การขอประชามติ (referendum) หรือ การขอประชามติโดยเลือก (optional referendum) ให้อำนาจประชาชนเพื่ออุทธรณ์ให้ลงประชามติต่อกฎหมายที่มีอยู่แล้ว โดยอาจมีกำหนดช่วงเวลาหลังการออกกฎหมายที่สามารถอุทธรณ์ได้และจำนวนลายเซ็นที่ต้องมี และอาจบังคับให้มีลายเซ็นจากชุมชนหลายหลากเพื่อป้องกันผลประโยชน์ของคนกลุ่มน้อย[6] รูปแบบนี้เท่ากับให้ประชาชนผู้ลงคะแนนอำนาจยับยั้งกฎหมายที่ออกโดยผู้แทนฝ่ายนิติบัญญัติ ดังเช่นในประเทศสวิตเซอร์แลนด์[7][8][9][10]

การริเริ่มออกกฎหมาย (Initiative) ให้อำนาจแก่ประชาชนทั่วไปในการเสนอมาตรการกฎหมายโดยเฉพาะ ๆ หรือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และอาจเป็นแบบโดยตรงหรือโดยอ้อม แบบตรงจะระบุการริเริ่มที่ทำสำเร็จบนบัตรเลือกตั้งเพื่อการลงคะแนนโดยตรง (เหมือนกับระบบในแคลิฟอร์เนีย)[6] แบบอ้อมจะให้สภานิติบัญญัติพิจารณาการริเริ่มที่ทำสำเร็จก่อน แต่ว่า ถ้าสภาไม่ทำอะไรที่ยอมรับได้ในช่วงเวลาที่กำหนดไว้ การริเริ่มก็จะระบุในบัตรเลือกตั้งให้ลงคะแนนโดยตรง สวิตเซอร์แลนด์ใช้แบบอ้อมเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ[6]

การถอดถอน (recall) ให้อำนาจถอนผู้ได้รับเลือกตั้งจากตำแหน่งก่อนวาระ[11]

ผู้เขียนบางท่านที่ชอบใจอนาธิปไตยกล่าวว่า ประชาธิปไตยโดยตรงจะอยู่ตรงข้ามกับอำนาจแบบรวมศูนย์ เพราะว่า อำนาจการตัดสินใจจะอยู่ที่ระดับเดียว คือ ที่ประชาชน (ผ่านประชาธิปไตยโดยตรง) เทียบกับอำนาจรวมศูนย์[12]

ประวัติ[แก้]

ประชาธิปไตยโดยตรงแรกสุดเชื่อว่าเป็นประชาธิปไตยของชาวเอเธนส์ประมาณช่วงพุทธกาล (5 ศตวรรษก่อนคริสต์ศักราช) แม้ว่าจะไม่ใช่แบบที่ให้อำนาจแก่ประชาชนทั้งหมด คือไม่รวมหญิง คนต่างด้าว และทาส องค์ประชุมหลัก ๆ ของประชาธิปไตยชาวเอเธนส์ก็คือ

  • สมัชชาประชาชน ซึ่งประกอบด้วยประชาชนชาย ทำหน้าที่คล้ายกับฝ่ายนิติบัญญัติ
  • สภาฝ่ายบริหาร (boule) ซึ่งมีประชาชน 500 คน
  • ฝ่ายตุลาการ ซึ่งเป็นลูกขุนจำนวนมากที่เลือกโดยลอตเตอรี่ โดยไม่มีผู้พิพากษา

เอเธนส์มีประชาชนชายเพียงแค่ 30,000 คน แต่มีหลายพันที่มีบทบาททางการเมืองแต่ละปี และหลายคนจะทำเป็นปกติหลายปีต่อ ๆ กัน ประชาธิปไตยชาวเอเธนส์เป็นแบบ "โดยตรง" ไม่ใช่เพียงเพราะการตัดสินใจฝ่ายนิติบัญญัติที่ทำโดยสมัชชาประชาชน แต่เพราะประชาชนก็ยังควบคุมกระบวนการปกครองผ่านฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการ และเพราะประชาชนสัดส่วนใหญ่ก็มีบทบาทอย่างต่อเนื่องในรัฐกิจด้วย[13] ส่วนประชาธิปไตยปัจจุบันเป็นแบบมีผู้แทน ไม่ใช่โดยตรง และไม่เหมือนระบบของชาวเอเธนส์

รัฐที่เข้าประเด็นอีกอย่างก็คือโรมโบราณ โดยเฉพาะของสาธารณรัฐโรมันเริ่มต้นที่ 509 ปีก่อนคริสต์ศักราช[14] โรมได้มีลักษณะต่าง ๆ ของประชาธิปไตยทั้งโดยตรงและโดยอ้อม เริ่มตั้งแต่ราชอาณาจักรโรมันจนกระทั่งถึงจักรวรรดิโรมันล่ม จริง ๆ แล้ว วุฒิสภาโรมันได้ตั้งขึ้นตั้งแต่วันแรก ๆ ของการตั้งเมือง คงอยู่ตลอดยุคราชอาณาจักร สาธารณรัฐ และจักรวรรดิ และยังคงอยู่แม้หลังจากที่โรมตะวันตกเสื่อมลง โดยโครงสร้างและข้อบังคับของวุฒิสภาโรมันก็ยังทรงอิทธิพลในสภานิติบัญญัติปัจจุบันต่าง ๆ ทั่วโลก สำหรับกระบวนการประชาธิปไตยโดยตรง สาธารณรัฐโรมันโบราณมีระบบการออกกฎหมายโดยประชาชน ซึ่งรวมการร่างกฎหมาย การผ่านกฎหมาย และอำนาจการยับยั้งกฎหมายที่ฝ่ายนิติบัญญัติออก นักประวัติศาสตร์จำนวนหนึ่งกำหนดจุดจบของสาธารณรัฐด้วยการผ่านกฎหมายชื่อว่า Lex Titia ซึ่งล้างบทบัญญัติการควบคุมดูแลของประชาชนและวุฒิสภาโดยมาก[14]

ส่วนการออกกฎหมายโดยประชาชนในยุคปัจจุบันได้เริ่มในเมืองต่าง ๆ ของสวิตเซอร์แลนด์ในคริสต์ทศวรรษที่ 13 ต่อมาในปี 2390 คนสวิสจึงได้เพิ่มอำนาจ "การขอเสียงประชามติต่อบทกฎหมาย" สำหรับรัฐธรรมนูญของประเทศ แล้วต่อมาจึงพบว่า การมีอำนาจเพียงแค่ยับยั้งกฎหมายรัฐสภายังไม่เพียงพอ ในปี 2434 จึงเพิ่มอำนาจ "การริเริ่มการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ" การเมืองชาวสวิสตั้งแต่ปี 2434 จึงเป็นประสบการณ์สำคัญของโลกเกี่ยวกับการริเริ่มการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญระดับชาติที่ริเริ่มแล้วตัดสินโดยประชาชน[15]

ใน 120 ปีที่ผ่านมา มีการริเริ่มกว่า 240 ครั้งที่ได้ลงประชามติ โดยประชาชนค่อนข้างจะอนุรักษนิยม คือได้ผ่านการริเริ่มเพียงแค่ 10% เป็นกฎหมาย นอกจากนั้นแล้ว บ่อยครั้งก็ยังเลือกการริเริ่มฉบับที่เขียนใหม่โดยรัฐบาล (ดูหัวข้อ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ข้างหน้า) [7][8][9][10]

มีประเด็นบางอย่างเกี่ยวกับประชาธิปไตยที่ใช้อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีการสื่อสารอื่น ๆ ในบทความประชาธิปไตยอิเล็กทรอนิคส์และในหัวข้อ "ประชาธิปไตยโดยตรงแบบอิเล็กทรอนิคส์" ข้างหน้า โดยเฉพาะก็คือ เป็นแนวคิดวิธีการปกครองแบบโอเพนซอร์ซที่ประยุกต์ใช้หลักจากขบวนการซอฟต์แวร์เสรีในการปกครองประชาชน คือให้ประชาชนทั้งหมดมีส่วนร่วมในการปกครองโดยตรง มากน้อยตามที่ตนต้องการ[16]

ตัวอย่าง[แก้]

เมืองเอเธนส์โบราณ[แก้]

ประชาธิปไตยชาวเอเธนส์ได้พัฒนาขึ้นในนครรัฐกรีกโบราณเอเธนส์ ซึ่งรวมนครเอเธนส์เองบวกกับอาณาเขตรอบ ๆ ที่รวมเรียกว่า Attica ประมาณพุทธกาลคือ 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นประชาธิปไตยแรกรัฐหนึ่งที่รู้จัก แม้ว่านครรัฐกรีกอื่น ๆ จะใช้ระบอบประชาธิปไตยเช่นกัน และโดยมากจะทำตามแบบเอเธนส์ แต่ก็ไม่มีรัฐอื่นที่มีอำนาจ เสถียร หรือเหลือร่องรอยหลักฐานเท่ากับของเอเธนส์ ในประชาธิปไตยโดยตรงของเอเธนส์ ประชาชนไม่ได้เลือกผู้แทนให้ออกเสียงลงคะแนนเพื่อผ่านกฎหมายฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายบริหารเพื่อประโยชน์แห่งตน (ดังที่ทำในสหรัฐอเมริกา) แต่ตัวเองนั่นแหละเป็นคนลงคะแนน การมีส่วนร่วมไม่ได้เปิดโดยทั่วไป คือมีการจำกัดแม้ว่าจะไม่ได้จำกัดโดยชนชั้นทางเศรษฐกิจ[ต้องการอ้างอิง] และประชาชนก็มีส่วนร่วมอย่างมาก โดยความเห็นของประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงจะได้รับอิทธิพลจากละครเสียดสีทางการเมืองของศิลปินตลกชาวกรีกที่แสดงในโรงละคร[17]

รัฐบุรุษ Solon (594 ก่อนคริสต์ศักราช) ขุนนาง Cleisthenes (508-7 ก่อน ค.ศ.) และนักการเมือง Ephialtes (462 ก่อน ค.ศ.) ล้วนแต่มีบทบาทพัฒนาระบอบประชาธิปไตยชาวเอเธนส์ แต่นักประวัติศาสตร์เห็นต่างกันว่า พวกเขามีบทบาทสร้างสถาบันอะไร และคนไหนเป็นผู้แทนที่แท้จริงของขบวนการประชาธิปไตย โดยปกติจะจัดว่า ประชาธิปไตยชาวเอเธนส์เริ่มมาจาก Cleisthenes เพราะว่ารัฐธรรมนูญของ Solon ได้ล่มแล้วถูกทดแทนด้วยระบอบทรราชย์ของ Peisistratus

ผู้นำประชาธิปไตยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและคงยืนที่สุดก็คือเพริคลีส (Pericles) ภายหลังการเสียชีวิตของเขา ระบอบประชาธิปไตยของชาวเอเธนส์ก็ถูกปฏิวัติเปลี่ยนเป็นคณาธิปไตยอย่างสั้น ๆ 2 ครั้งท้ายสงครามเพโลพอนนีเซียน แล้วต่อมาจึงฟื้นฟูอีกแม้จะเปลี่ยนไปภายใต้การปกครองของยูคลีดีส (Eucleides) ปี 403-402 ก่อน ค.ศ. เป็นช่วงที่ได้รายละเอียดเกี่ยวกับการปกครองมากที่สุด ไม่ใช่ได้ในช่วงการปกครองของเพริคลีส ต่อมาจึงถูกระงับอีกในปี 322 ก่อน ค.ศ. ภายใต้การปกครองของชาวมาเซโดเนีย แม้ภายหลังสถาบันของชาวเอเธนส์จะกลับคืนมาอีก แต่ความเป็นประชาธิปไตยจริง ๆ ของระบอบก็เป็นเรื่องไม่ชัดเจน[18]

ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยที่ไม่ต้องลงทะเบียน ประชาชนทุกคนจะได้รับบัตรลงคะแนนตลอดจนโบรชัวร์ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่ลงคะแนนแต่ละอย่าง และสามารถส่งบัตรกลับทางไปรษณีย์ ประเทศมีกลไกสำหรับประชาธิปไตยโดยตรงหลายอย่าง และจะมีการลงคะแนนประมาณ 4 ครั้งต่อปี

สวิตเซอร์แลนด์[แก้]

ในปัจจุบัน รูปแบบบริสุทธิ์ของประชาธิปไตยโดยตรงมีอยู่เพียงแค่ในแคนทอนอัพเพินท์เซลล์อินเนอร์โรเดิน (Appenzell Innerrhoden) และแคนทอนกลารุส แห่งประเทศสวิตเซอร์แลนด์[19] เทียบกับสมาพันธรัฐสวิสโดยรวมที่เป็นประชาธิปไตยกึ่งโดยตรง คือเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนที่มีกลไกทางประชาธิปไตยโดยตรงที่เข้มแข็ง[19] ความเป็นประชาธิปไตยโดยตรงของประเทศ จะบูรณาการด้วยโครงสร้างแบบสหพันธรัฐของรัฐบาลกลาง (เยอรมัน: Subsidiaritätsprinzip) [7][8][9][10] เทียบกับประเทศตะวันตกโดยมากที่เป็นระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน[19]

สวิตเซอร์แลนด์เป็นตัวอย่างหายากของประเทศที่มีกลไกของประชาธิปไตยโดยตรงทั้งในระดับเทศบาล แคนทอน และสหพันธรัฐ โดยประชาชนจะมีอำนาจมากกว่าในประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน ในระดับการเมืองทุกส่วน ประชาชนสามารถเสนอการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ (การริเริ่มออกกฎหมายของประชาชน) หรือการขอประชามติโดยเลือก (optional referendum ซึ่งต้องมีลายเซ็น 50,000 ราย) ต่อกฎหมายที่ออกโดยรัฐสภาระดับสหพันธรัฐ แคนทอน และ/หรือเทศบาล[20]

การขอประชามติโดยเลือก (optional referendum) และการลงประชามติโดยบังคับ (compulsory referendum) ในระดับการปกครองต่าง ๆ โดยทั่วไปจะทำมากกว่าในประเทศอื่น ๆ ยกตัวอย่างเช่น ในระดับประเทศ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจะบังคับให้ลงคะแนนเสียงโดยทั้งประชาชนและแคนทอน ส่วนในระดับแคทอนและระดับท้องถิ่นอื่น ๆ การตัดสินใจเรื่องงบประมาณที่พอสมควรไม่ว่าจะโดยฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายบริหาร ก็บังคับให้ประชาชนได้ลงคะแนนเสียงด้วยเหมือนกัน[20]

ประชาชนชาวสวิสจะออกเสียงลงคะแนน 4 ครั้งต่อปี ในประเด็นปัญหาทุกอย่างในทุก ๆ ระดับการปกครอง ไม่ว่าจะเป็นการอนุมัติงบประมาณสำหรับอาคารโรงเรียนหรือการสร้างถนนใหม่ จะเป็นการเปลี่ยนนโยบายเรื่องอาชีพทางเซ็กซ์ เป็นการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ หรือนโยบายต่างประเทศ[21]

ในระหว่างเดือนมกราคม 2538 จนถึงเดือนมิถุนายน 2548 ประชาชนได้ลงคะแนนออกเสียง 31 ครั้ง เกี่ยวกับปัญหาระดับประเทศ 103 เรื่อง ปัญหาระดับแคนทอนและเทศบาลมากมายยิ่งกว่านั้น[22] เทียบกับประชาชนชาวฝรั่งเศสที่มีส่วนร่วมลงประชามติเพียงแค่สองครั้งในช่วงเดียวกัน[19]

ในสวิตเซอร์แลนด์ การได้คะแนนเกินครึ่งของที่ออกเสียงลงคะแนน (simple majority) ก็พอแล้วในระดับเทศบาลและแคนทอน แต่ในระดับประเทศ การได้เสียงข้างมากโดยอย่างน้อย 2 เกณฑ์ (double majority) เป็นข้อบังคับในเรื่องเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ[15] ซึ่งก็คือ ต้องได้เสียงข้างมากจากประชาชนที่ลงคะแนน และจากแคนทอน

ดังนั้น ถ้าประชาชนเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในระดับประเทศ ถึงแม้ประชาชนโดยมากจะอนุมัติแต่แคนทอนโดยมากคัดค้าน สิ่งที่เสนอก็จะไม่ผ่านเป็นกฎหมาย[15] ส่วนการลงประชามติในเรื่องทั่ว ๆ ไป (เช่น หลักของการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั่วไป) การได้เสียงส่วนมากจากคนที่ออกเสียงก็พอแล้ว (เช่นรัฐธรรมนูญปี 2548)

ในปี 2433 เมื่อกำลังอภิปรายข้อกำหนดการออกฎหมายของประชาชนในประชาสังคมและรัฐบาล ชาวสวิสได้รับเอาแนวคิดการได้เสียงข้างมากสองอย่างจากรัฐสภาสหรัฐ ที่สภาผู้แทนราษฎรจะเป็นผู้แทนให้ประชาชน และวุฒิสภาจะเป็นผู้แทนให้รัฐต่าง ๆ[15]

ตามผู้สนับสนุน การออกกฎหมายของประชาชนในระดับประเทศที่ "สมบูรณ์ด้วยความชอบธรรม" เช่นนี้ ได้ประสบความสำเร็จอย่างมาก ทนายและนักการเมืองชาวอเมริกันคนหนึ่ง (Kris Kobach) อ้างว่า สวิตเซอร์แลนด์ประสบความสำเร็จทั้งในด้านสังคมและด้านเศรษฐกิจโดยมีประเทศอื่น ๆ เพียงแค่ 2-3 ประเทศเท่านั้นที่สามารถเทียบได้ เขาเขียนในท้ายหนังสือของเขาว่า บ่อยครั้งที่ผู้สังเกตการณ์จะลงความเห็นว่า สวิตเซอร์แลนด์เป็นตัวประหลาดในบรรดาระบอบการปกครองทั้งหลาย ทั้งที่จริงสมควรจะมองว่าเขาว่าเป็นประเทศที่บุกเบิก ระบอบการปกครองของสวิตเซอร์แลนด์ รวมทั้งกลไกของประชาธิปไตยโดยตรงตลอดจนการปกครองแบบแบ่งเป็นหลายระดับ ได้กลายเป็นจุดสนใจของนักวิชาการในเรื่องการรวมหน่วยของสหภาพยุโรป[23]

สหรัฐอเมริกา[แก้]

ในเขตนิวอิงแลนด์ในสหรัฐ เทศบาลต่าง ๆ จะมีระบบ การปกครองตนเองของท้องถิ่น (home rule) แบบจำกัด และตัดสินเรื่องในท้องถิ่นผ่านกระบวนการประชาธิปไตยโดยตรงที่เรียกว่า ประชุมเมือง (town meeting)[24] ซึ่งเป็นรูปแบบประชาธิปไตยโดยตรงที่เก่าแก่ที่สุดในสหรัฐ และได้มีมาตั้งแต่ก่อนตั้งประเทศอย่างน้อยก็หนึ่งศตวรรษ

แต่ว่า ประชาธิปไตยโดยตรงก็ไม่ใช่สิ่งที่ผู้กำหนดกรอบรัฐธรรมนูญสหรัฐได้วางแผนให้กับประเทศ เพราะพวกเขามองเห็นอันตรายของเผด็จการโดยเสียงข้างมาก และดังนั้น จึงสนับสนุนระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนในรูปแบบของสาธารณรัฐตามรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ประชาธิปไตยโดยตรง

ยกตัวอย่างเช่น บิดาของรัฐธรรมนูญสหรัฐและประธานาธิปดีคนที่ 4 เจมส์ เมดิสัน สนับสนุนสาธารณรัฐตามรัฐธรรมนูญเหนือประชาธิปไตยโดยตรง โดยเฉพาะก็เพื่อป้องกันปัจเจกบุคคลจากเจตจำนงของคนส่วนมาก โดยได้กล่าวไว้ว่า

ผู้มีทรัพย์สินและผู้ไม่มี ย่อมมีความสนใจ/ผลประโยชน์ในสังคมที่ไม่เหมือนกันตลอดกาล

ผู้ที่เป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ ก็ตกอยู่ใต้การเลือกปฏิบัติเช่นกัน กลุ่มที่ดิน กลุ่มการผลิต กลุ่มพ่อค้า กลุ่มการเงิน และกลุ่มเล็กกว่าอื่น ๆ ก็เติบโตขึ้นจากความจำเป็นในประเทศศิวิไลซ์ ซึ่งแบ่งพวกเขาเป็นชนชั้นต่าง ๆ โดยได้แรงกระตุ้นจากความรู้สึกและมุมมองที่ต่างกัน การควบคุมกลุ่มต่าง ๆ ที่ขัดแย้งกันเหล่านี้ เป็นงานหลักของการออกกฎหมายปัจจุบัน และโยงใยกับสปิหริดของพรรคและฝ่าย ภายใต้การดำเนินการของรัฐบาลที่ปกติและจำเป็น ประชาธิปไตยบริสุทธิ์ ซึ่งผมหมายถึงสังคมที่มีประชาชนจำนวนน้อย ผู้ประชุมกันและบริหารรัฐบาลเอง ไม่สามารถอ้างว่ามีวิธีแก้ปัญหาของพรรคฝ่ายเช่นนี้ คนส่วนมากจะเห็นด้วยกับความรู้สึกหรือความสนใจที่สามัญ โดยไม่มีอะไรจูงใจเพื่อกีดขวางการสังเวยกลุ่มที่อ่อนแอกว่า ดังนั้น ประชาธิปไตยจะไม่มีทางเข้ากับความปลอดภัยส่วนบุคคลหรือสิทธิในทรัพย์สิน และโดยทั่วไป ก็จะมีอายุสั้นเท่ากับความรุนแรงที่จะสิ้นชีพไป

จอห์น วิเธอร์สปูน ซึ่งเป็นผู้ลงนามคำประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกากล่าวว่า "ประชาธิปไตยบริสุทธิ์ไม่สามารถดำรงอยู่ได้นานด้วย ไม่สามารถใช้ในส่วนต่าง ๆ ของรัฐด้วย (เพราะ) มันตกอยู่ใต้การทำตามอำเภอใจและตามความบ้าเนื่องจากความคลั่งไคล้ของประชาชน" ส่วนอเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน ผู้เป็นบิดาของประเทศและเลขาธิการกระทรวงการคลังสหรัฐคนแรก ได้กล่าวไว้ว่า "จุดยืนว่า ถ้าประชาธิปไตยบริสุทธิ์สามารถปฏิบัติได้ ก็จะเป็นระบบการปกครองที่สมบูรณ์ที่สุด (แต่) ประสบการณ์ได้พิสูจน์แล้วว่า ไม่มีจุดยืนไหนที่เป็นเท็จยิ่งกว่านี้ ประชาธิปไตยโบราณต่าง ๆ ที่ประชาชนเองปรึกษาหารือ ไม่มีลักษณะการปกครองอะไรดีสักอย่าง (เพราะ) ลักษณะโดยเฉพาะของพวกมันก็คือ เป็นระบบทรราชย์ และรูปร่างของมันก็พิกลพิการ"[26]

แม้ว่าผู้กำหนดกรอบจะตั้งใจเช่นนี้เมื่อตั้งประเทศ ทั้งการเสนอกฎหมายเพื่อลงคะแนนโดยประชาชน (ballot measure) และการลงประชามติที่เป็นของคู่กัน ก็ได้ใช้อย่างกว้างขวางในทั้งระดับรัฐและระดับท้องถิ่นอื่น ๆ และก็มีกฎหมายที่ตั้งโดยการพิพากษา (case law) ต่าง ๆ ในทั้งระดับรัฐและระดับประเทศระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1900 จนถึง 1990 ที่ป้องกันสิทธิอำนาจของประชาชนในการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยตรง[27][28] กรณีพิพากษาแรกของศาลสูงสุดสหรัฐที่ได้ตัดสินคดีเห็นชอบกับการออกกฎหมายของประชาชน เกิดขึ้นในปี 2455 (Pacific States Telephone and Telegraph Company v. Oregon, 223 U.S. 118)[29]

ส่วนประธานาธิบดีธีโอดอร์ โรสเวลต์ ในปาฐกถาปี 2455 หัวข้อว่า กฎบัตรของประชาธิปไตย (Charter of Democracy) ที่ให้ ณ การประชุมใหญ่เรื่องรัฐธรรมนูญในรัฐโอไฮโอ กล่าวว่า "ผมเชื่อมั่นในกระบวนการริเริ่มออกกฎหมายและการลงประชามติ ซึ่งควรใช้ไม่ใช่เพื่อทำลายรัฐบาลแบบมีตัวแทน แต่เพื่อแก้ไขเธอเมื่อเธอไม่เป็นตัวแทนที่ดี"[30] จะเห็นได้ว่าบุคคลที่กล่าวแย้งเรื่องประชาธิปไตยโดยตรงล้วนเป็นตัวแทนทั้งสิ้น

ในรัฐต่าง ๆ การขอ/ลงประชามติที่ประชาชนสามารถใช้อำนาจรวมทั้ง[ต้องการอ้างอิง]

  • การส่งต่อ (Referral) ให้ประชาชนโดยฝ่ายนิติบัญญัติเกี่ยวกับ "การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่เสนอ" (proposed constitutional amendments) ซึ่งเป็นบัญญัติตามรัฐธรรมนูญของรัฐ 49 รัฐยกเว้นรัฐเดลาแวร์ (Initiative & Referendum Institute, 2004)
  • การส่งต่อให้ประชาชนโดยฝ่ายนิติบัญญัติเกี่ยวกับ "บทบัญญัติกฎหมายที่เสนอ" (proposed statute laws) ซึ่งเป็นบัญญัติตามรัฐธรรมนูญของรัฐ 50 รัฐ (Initiative & Referendum Institute, 2004)
  • การริเริ่มการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (Constitutional amendment initiative) เป็นกระบวนการเรียกร้องที่กำหนดในรัฐธรรมนูญเพื่อ "กฎหมายในรัฐธรรมนูญที่เสนอ" ซึ่งถ้าสำเร็จ ก็จะมีผลเป็นบทบัญญัติที่ระบุโดยตรงในรัฐธรรมนูญระดับรัฐ เนื่องจากฝ่ายนิติบัญญัติไม่สามารถแก้บัญญัติในรัฐธรรมนูญได้ องค์เช่นนี้ของประชาธิปไตยโดยตรงให้อำนาจที่เหนือกว่าและสูงสุดแก่ประชาชนโดยอัตโนมัติ เหนือกว่ารัฐบาลที่เป็นผู้แทน (Magelby, 1984) ซึ่งใช้ใน 19 รัฐคือ แอริโซนา อาร์คันซอ แคลิฟอร์เนีย โคโลราโด ฟลอริดา อิลลินอยส์ ลุยเซียนา แมสซาชูเซตส์ มิชิแกน มิสซิสซิปปี มิสซูรี มอนแทนา เนแบรสกา เนวาดา นอร์ทดาโคตา โอไฮโอ โอคลาโฮมา ออริกอน เซาท์ดาโคตา[31] ในบรรดารัฐเหล่านี้ การริเริ่มเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมี 3 รูปแบบหลัก โดยฝ่ายนิติบัญญัติของรัฐจะมีบทบาทในระดับต่าง ๆ กัน ซึ่งเป็นตัวแยกแยะรูปแบบ[29]
  • การริเริ่มบัญญัติกฎหมาย (Statute law initiative) เป็นกระบวนการเรียกร้องที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ เริ่มโดยประชาชนในเรื่อง "บัญญัติกฎหมายที่เสนอ" ซึ่งถ้าผ่าน ก็จะมีผลเป็นกฎหมายเขียนลงในบัญญัติกฎหมายของรัฐโดยตรง ซึ่งใช้ในรัฐ 21 รัฐ คือ อะแลสกา แอริโซนา อาร์คันซอ แคลิฟอร์เนีย โคโลราโด ไอดาโฮ เมน แมสซาชูเซตส์ มิชิแกน มิสซูรี มอนแทนา เนแบรสกา เนวาดา โอไฮโอ โอคลาโฮมา ออริกอน เซาท์ดาโคตา ยูทาห์ วอชิงตัน และไวโอมิง[31] ให้สังเกตว่า การออกกฎหมายโดยประชาชน (คือ การริเริ่มบัญญัติกฎหมายและการขอ/ลงประชามติ) ไม่ใช่เป็นบัญญัติในรัฐธรรมนูญของยูทาห์ แต่เป็นบทบัญญัติกฎหมายของรัฐ[29] ในรัฐโดยมาก กฎหมายที่ออกโดยประชาชนจะไม่พิเศษ คือฝ่ายนิติบัญญัติสามารถเริ่มเปลี่ยนกฎหมายได้ทันที
  • การขอประชามติสำหรับบัญญัติกฎหมาย (Statute law referendum) เป็นกระบวนการเรียกร้องที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ เริ่มโดยประชาชนเพื่อ "การเสนอยับยั้งกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติทั้งหมดหรือบางส่วน" ซึ่งถ้าผ่าน ก็จะยกเลิกกฎหมายที่มีอยู่ ซึ่งใช้ในระดับรัฐ 24 รัฐ คือ อะแลสกา แอริโซนา อาร์คันซอ แคลิฟอร์เนีย โคโลราโด ไอดาโฮ เคนทักกี เมน แมริแลนด์ แมสซาชูเซตส์ มิชิแกน มิสซูรี มอนแทนา เนแบรสกา เนวาดา นิวเม็กซิโก นอร์ทดาโคตา โอไฮโอ โอคลาโฮมา ออริกอน เซาท์ดาโคตา ยูทาห์ วอชิงตัน และไวโอมิง[31]
  • การถอดถอน (recall) เป็นกระบวนการเรียกร้องที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ เริ่มโดยประชาชนเพื่อถอดผู้ได้รับเลือกตั้งจากตำแหน่ง ในรัฐและเขตท้องถิ่นโดยมากที่มีกระบวนการเช่นนี้ ประชาชนจะลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งคนอื่นพร้อม ๆ กับลงคะแนนเพื่อถอดถอนตำแหน่ง โดยคนที่ได้รับเลือกตั้งในบัตรนี้จะเป็นผู้ดำรงตำแหน่งคนต่อไป ถ้าการถอดถอนผ่าน เป็นกระบวนการซึ่งใช้ในรัฐ 19 รัฐ คือ อะแลสกา แอริโซนา แคลิฟอร์เนีย โคโลราโด จอร์เจีย ไอดาโฮ อิลลินอยส์ แคนซัส ลุยเซียนา มิชิแกน มินนิโซตา มอนแทนา เนวาดา นิวเจอร์ซีย์ นอร์ทดาโคตา ออริกอน โรดไอแลนด์ วอชิงตัน และวิสคอนซิน[32]

ปัจจุบันมีรัฐ 24 รัฐที่มีกระบวนการทางประชาธิปไตยโดยตรงที่กำหนดโดยรัฐธรรมนูญและเริ่มโดยประชาชน[29] ในสหรัฐโดยมาก การได้คะแนนเสียงข้างมากอย่างเดียวก็พอตัดสินกระบวนการเหล่านี้[ต้องการอ้างอิง] นอกจากนั้น เขตท้องถิ่นอื่น ๆ จำนวนมากในสหรัฐก็ยังมีกระบวนการบางอย่างหรือทั้งหมดเหล่านี้ โดยที่การริเริ่มกฎหมายในบางกรณี (เช่น การเพิ่มภาษี) จะบังคับให้ได้คะแนนเสียงเกินกว่าครึ่ง (supermajority) ก่อนที่จะผ่าน แม้ในรัฐที่ไม่มีหรือแทบไม่มีกระบวนการประชาธิปไตยโดยตรง ประชาชนก็ยังมีโอกาสตัดสินเรื่องโดยเฉพาะบางเรื่องโดยตรง เช่น จะให้ขายสุราในเขตท้องถิ่นนั้นหรือไม่[ต้องการอ้างอิง]

ทางเลือกการปฏิรูปประชาธิปไตยที่ยาก 3 อย่าง[แก้]

นักทฤษฎีเกี่ยวกับประชาธิปไตยได้ระบุลักษณะที่พึงปรารถนาแต่ได้พร้อมกันยาก 3 อย่างในระบบประชาธิปไตยโดยตรงที่สมบูรณ์ คือ

  1. การมีส่วนร่วม - คือประชาชนจำนวนมากที่ได้รับผลมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
  2. การปรึกษาหารือ/การอภิปราย - คือมีการสนทนากันโดยเหตุผลที่แสดงน้ำหนักของมุมมองสำคัญต่าง ๆ ตามหลักฐาน
  3. ความเท่าเทียมกัน - คือประชาชนทั้งหมดที่มีอำนาจตัดสินมีโอกาสได้การพิจารณามุมมองของตนเสมอกัน

หลักฐานเชิงประสบการณ์จากงานศึกษาเป็นโหล ๆ แสดงว่า การปรึกษาหารือ/การอภิปราย ทำให้ตัดสินใจได้ดีกว่า[12][33] ส่วนการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยตรงที่คัดค้านกันมากที่สุดก็คือ การขอ/ลงประชามติเรื่องรัฐธรรมนูญ[34]

แต่ว่า ยิ่งมีผู้เข้าร่วมเท่าไร ก็ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายยิ่งขึ้นเท่านั้นเพื่อจัดให้มีการสนทนาที่มีคุณภาพ และให้ข้อมูลที่ชัดเจนและเป็นกลาง[ต้องการอ้างอิง] อนึ่ง ยากที่คนแต่ละคนจะมีส่วนให้ข้อมูลอย่างสำคัญ เมื่อมีคนจำนวนมากร่วมกันสนทนา[ต้องการอ้างอิง] ในระบบที่เคารพความเท่าเทียมกันทางการเมือง ไม่ "ทุกคน" ก็จะต้องมีส่วนร่วม หรือไม่ก็จะต้องสุ่มตัวอย่างบุคคลเป็นตัวแทนในการสนทนา

ตามนักรัฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เจมส์ ฟิชกิน ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือเป็นรูปแบบประชาธิปไตยโดยตรงที่ตอบสนองต่อการให้มีการปรึกษาหารือและความเท่าเทียมกัน แต่ก็ไม่ได้ให้ทุกคนผู้ต้องการมีส่วนต้องได้ส่วนร่วม เทียบกับประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมที่เปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมและปรึกษาหารือ แต่จำต้องสังเวยความเท่าเทียมกัน เพราะถ้าอนุญาตให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างทั่วไป การมีทรัพยากรเพื่อสนับสนุนประชาชนผู้ให้เวลาเพื่อมีส่วนร่วมในการปรึกษาหารือเป็นไปได้ยาก ดังนั้น ผู้เข้าร่วมก็มักจะเป็นบุคคลที่มีความสนใจ/มีผลประโยชน์ในเรื่องที่จะตัดสินสูง และบ่อยครั้งจะไม่เป็นตัวแทนของประชากรทั้งหมด[35]

ฟิชกินเสนอแทนว่า การชักตัวอย่างแบบสุ่มควรใช้เลือกคนจำนวนน้อยที่ยังสามารถเป็นตัวแทนได้ จากประชาชนทั่วไป[11][12] ดังที่ใช้ในประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือที่เขาสนับสนุน ฟิชกินยอมรับว่า ระบอบที่แก้ปัญหาทั้งสามอย่างอาจเป็นไปได้ แต่ว่า จะต้องมีการปฏิรูปอย่างสุด ๆ ถ้าระบบที่ว่าจะสามารถรวมเข้ากับระบอบการปกครองกระแสหลักได้

ประชาธิปไตยโดยตรงแบบอิเล็กทรอนิคส์[แก้]

ประชาธิปไตยโดยตรงแบบอิเล็กทรอนิคส์ (Electronic direct democracy, EDD) หรือรู้จักอีกอย่างหนึ่งว่า ประชาธิปไตยดิจิตัลโดยตรง (direct digital democracy, DDD)[36] เป็นรูปแบบหนึ่งของประชาธิปไตยโดยตรงที่ใช้โทรคมนาคมเพื่ออำนวยให้ประชาชนมีส่วนร่วม ซึ่งบางครั้งก็เรียกเป็นชื่อภาษาอังกฤษอย่างอื่น ๆ ได้ด้วยเช่น open-source governance (วิธีการปกครองแบบโอเพนซอร์ซ) หรือ collaborative governance (วิธีการปกครองแบบปรึกษาหารือ)

ระบบนี้ให้ออกคะแนนเสียงทางอิเล็กทรอนิคส์ หรือด้วยวิธีการอย่างอื่น ๆ เพื่อลงคะแนนเสียงเกี่ยวกับประเด็นปัญหาต่าง ๆ ทางอิเล็กทรอนิคส์ และเหมือนกับประชาธิปไตยโดยตรงแบบอื่น ๆ ประชาชนจะมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเกี่ยวกับนิติบัญญัติ เขียนกฎหมายใหม่ และถอดถอนผู้แทน ถ้ายังมีผู้แทนอยู่

สถาบันเทคโนโลยีฟลอลิดาได้ทำงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสนับสนุน EDD[37] ซึ่งสถาบันเองก็ได้ใช้ในองค์กรต่าง ๆ ของนักศึกษา อนึ่ง ยังมีโปรเจ็กต์พัฒนาซอฟต์แวร์อื่น ๆ อีกมาก[38] ตลอดจนโครงการสนับสนุนอื่น ๆ[39] มีหลายโครงการที่ทำงานร่วมมือกันโดยใช้สถาปัตยกรรมข้ามแพลตฟอร์ม ภายใต้โครงการ Metagovernment (อภิรัฐบาล)[40]

ยังไม่มีรัฐบาลไหน ๆ ในโลกที่ใช้ EDD ทั้งระบบ แม้ว่าจะมีโครงการริเริ่มหลายโครงการ

  • ในสหรัฐช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาปี 2535 และ 2539 อภิมหาเศรษฐีผู้สมัครรับเลือกตั้งรอสส์ เพโรต์ ได้สนับสนุนให้มี ประชุมเมืองทางอิเล็กทรอนิคส์ (electronic town meeting)
  • ในสวิตเซอร์แลนด์ ที่ปกครองด้วยประชาธิปไตยโดยตรงเป็นบางส่วน ก็กำลังดำเนินการใช้ระบบเช่นนี้[41]
  • พรรคประชาธิปไตยโดยตรงออนไลน์ (Online Direct Democracy, ชื่อเดิม Senator Online) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองในประเทศออสเตรเลียที่ได้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาของรัฐบาลกลางออเสตรเลียในปี 2550 ได้เสนอใช้ระบบ EDD เพื่อให้คนออสเตรเลียตัดสินว่า สมาชิกวุฒิสภาที่ได้รับเลือกจะลงคะแนนออกเสียงในแต่ละเรื่องอย่างไร[42]
  • มีโครงการริเริ่มคล้ายกันปี 2545 ของพรรคประชาธิปัตย์โดยตรง (Direktdemokraterna, ชื่อเดิม Aktivdemokrati) ในการสมัครรับเลือกตั้งผู้แทนราษฎรในรัฐสภาสวีเดน ซึ่งเสนอให้สมาชิกมีอำนาจตัดสินการดำเนินการของพรรคทั่วไปหรือในบางเรื่อง หรือโดยเป็นทางเลือก การมีผู้แทนอันสมาชิกสามารถถอดถอนได้ทันทีในเรื่องบางเรื่อง

ตั้งแต่ต้นปี 2554 พรรคการเมืองแบบ EDD เช่นนี้ก็เริ่มร่วมมือกันผ่านองค์กร Participedia wiki[43]

  • พรรคประชาธิปไตยโดยตรงหลักพรรคแรกที่ลงทะเบียนกับคณะกรรมการเลือกตั้งก็คือ พรรค People's Administration Direct Democracy แห่งสหราชอาณาจักร[44]

พรรคได้พัฒนาและตีพิมพ์โครงสร้างสมบูรณ์ของการปฏิรูปที่เป็นไปตามกฎหมายเพื่อสร้าง EDD (รวมทั้งการปฏิรูปรัฐสภาที่จำเป็น)[45] ทำให้สามารถวิวัฒนาการระบบการปกครองผ่านการออกเสียงลงคะแนนด้วยเสียงข้างมากอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยไม่ต้องปฏิวัติใช้ความรุนแรง พรรคตั้งขึ้นโดยนักดนตรีและนักปฏิบัติการทางการเมือง สนับสนุนให้ใช้เว็บและโทรศัพท์เพื่อให้ผู้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนสามารถสร้าง เสนอ และออกเสียงลงคะแนนเกี่ยวกับการออกกฎหมายของรัฐ แผนงานละเอียดของพรรคได้ตีพิมพ์ในวรรณกรรมรูปแบบต่าง ๆ ตั้งแต่ปี 2541

  • ฟลักซ์ (Flux) เป็นขบวนการทางการเมืองมีจุดมุ่งหมายเพื่อเปลี่ยนระบบนิติบัญญัติแบบเลือกตั้งของโลกด้วยระบบอิเล็กทรอนิคส์ใหม่ที่เรียกว่า issue-based direct democracy (ประชาธิปไตยโดยตรงตามประเด็นปัญหา)

เป็นขบวนการที่เกิดและมีการดำเนินงานมากที่สุดในออสเตรเลีย แต่ก็เป็นขบวนการสากลด้วยโดยมีกลุ่มดำเนินการในประเทศบราซิล[46]

  • พรรคมติประชา หรือชื่อในภาษาอังกฤษว่า People Vote Party (PVP)[47][48] มีคำขวัญประจำพรรคการเมืองคือ พัฒนาชาติ จากเสียงของประชาชน (Developing Nation from People's Direct Voted) เป็นพรรคการเมืองพรรคแรกในประเทศไทยที่ใช้หลักการประชาธิปไตยโดยตรง (Electronic Direct Democracy หรือ Digital Direct Democracy) เป็นหลักในการดำเนินงานและจัดการกับความเห็นภายในพรรค และนำมันไปใช้ผ่านตัวแทนของพรรคในรัฐสภา พรรคมติประชาจัดดั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2561 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา[49] เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2561 พรรคมติประชาได้กำหนดให้ใช้ประชาธิปไตยทางตรงและกำหนดอยู่ในข้อบังคับของพรรค เพื่อให้มั่นใจว่าจะมีการนำไปใช้ประชาธิปไตยโดยตรงไปใช้จริงเนื่องจากหลายครั้งมักเป็นเพียงแค่การโฆษณาชวนเชื่อหรือวาทะกรรมของนักการเมืองโดยที่มิได้นำระชาธิปไตยทางตรงมาใช้จริงและทำให้มีผลทางกฎหมาย พรรคจัดตั้งขึ้นโดยนายอนุชิต งามพัฒนพงศ์ชัย[50] ประชาชนคนไทยธรรมดาที่ไม่เคยเป็นนักการเมืองมาก่อนแต่ต้องการใช้สิทธิและอำนาจของตนโดยตรงไปยังรัฐสภาที่ไม่ใช่เป็นความเห็นของตัวแทนหรือผู้บริหารพรรค แต่กลับหาพรรคการเมืองแบบนี้ไม่ได้ในประเทศไทย จึงร่วมกับกลุ่มคนที่ต้องการให้สมาชิกได้มีส่วนร่วมกับการพัฒนาชาติที่มากไปกว่าการไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจัดตั้งพรรคขึ้น โดยใช้รูปแบบประชาธิปไตยโดยตรงภายในพรรคที่ให้สมาชิกพรรคทุกคนได้มีโอกาสในเลือกและตัดสินใจด้วยหลักการหนึ่งคนหนึ่งเสียงผ่านโปรแกรมที่ต้องระบุตัวตนบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งเป็นที่นิยมและใช้กันอย่างแพร่หลายอยู่แล้วในสังคมของประเทศไทย

ความสัมพันธ์กับขบวนการอื่น ๆ[แก้]

นักอนาธิปไตยได้สนับสนุนรูปแบบต่าง ๆ ของประชาธิปไตยโดยตรงแทนระบอบการปกครองแบบรวมศูนย์และทุนนิยม แต่ว่า ก็มีพวกอื่น ๆ (เช่น นักอนาธิปไตยปัจเจกนิยม) ที่คัดค้านประชาธิปไตยโดยตรงและประชาธิปไตยโดยทั่วไปเพราะไม่สนใจสิทธิของชนกลุ่มน้อย และเสนอรูปแบบการปกครองที่ตัดสินใจตามฉันทามติ ส่วนลัทธิมากซ์แบบอิสรเสรีนิยมสนับสนุนประชาธิปไตยอย่างเต็มที่ในรูปแบบสาธารณรัฐชนกรรมาชีพ ที่มองการปกครองโดยคนส่วนมากและการมีส่วนร่วมของประชาชนว่าเป็นเรื่องดี สันนิบาตเยาวชนคอมมิวนิสต์สหรัฐโดยเฉพาะได้เรียกประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนว่าเป็น "ประชาธิปไตยกระฎุมพี" โดยแสดงนัยว่าพวกเขาเห็นประชาธิปไตยโดยตรงว่าเป็น "ประชาธิปไตยที่แท้จริง"[51]

ในสถาบันการศึกษา[แก้]

โรงเรียนประชาธิปไตย (democratic school) มีหลักอำนวยสิ่งแวดล้อมทางการศึกษาแบบประชาธิปไตย โดยให้ส่วนร่วม "ที่สมบูรณ์และเท่าเทียม" เพื่อการตัดสินใจ แก่ทั้งนักเรียนและคณะทำงาน สิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้เช่นนี้ ตั้งเสียงของเยาวชนให้เป็นหลักในกระบวนการศึกษา โดยจัดให้นักเรียนมีส่วนร่วมผ่านประสบการณ์ในการดำเนินการของโรงเรียนทุกอย่าง รวมทั้งการเรียนรู้ การสอน ความเป็นผู้นำ ความยุติธรรม และกระบวนการประชาธิปไตย[52][53] คณะทำงานที่เป็นผู้ใหญ่จะสนับสนุนนักเรียนโดยอำนวยการสอนตามความสนใจของนักเรียน

โรงเรียนรูปแบบซัดบรี (Sudbury model) จะบริหารโรงเรียนผ่านการประชุมโรงเรียน (School Meeting) ที่นักเรียนและคณะทำงานเท่านั้นจะมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกัน ผู้ที่เข้าประชุมสามารถออกเสียงลงคะแนน โดยไม่ให้ออกเสียงลงคะแนนแทนกัน (คือไม่สามารถมอบฉันทะ) โดยเหมือนกับระบบประชาธิปไตยโดยตรงอื่น ๆ ผู้ที่เข้าร่วมปกติก็คือบุคคลที่มีความสนใจ/ผลประโยชน์ในประเด็นนั้น ๆ[54]

โรงเรียนซัมเมอร์ฮิลล์ในประเทศอังกฤษใช้วิธีการตัดสินใจแบบประชาธิปไตยโดยตรงเป็นเวลากว่า 90 ปี และมักจะมีปัญหากับรัฐบาลอังกฤษบ่อย ๆ แต่ก็ได้ชัยชนะเมื่ออุทธรณ์ศาลสูงอังกฤษปี 2542 หลังจากถูกขู่ว่าจะให้ปิด แล้วออกคำแถลงการณ์ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยยืนยันว่า "กระทรวงยอมรับว่า โรงเรียนมีสิทธิในการมีปรัชญาของตนเอง และการตรวจสอบ (ของรัฐ) ทุกอย่างควรคำนึงถึงจุดมุ่งหมายของสถาบันเพื่อเป็นโรงเรียน 'อิสระ' สากล.. ทั้งสองฝ่ายกล่าวยืนยันตกลงร่วมกันว่า นักเรียนควรมีเสียงเป็นตัวแทนในการประเมินคุณภาพการศึกษาที่ รร. ซัมเมอร์ฮิลล์ และว่า การตรวจสอบต้องพิจารณาการเรียนรู้ทุกอย่างที่โรงเรียน เพราะการเรียนรู้ไม่ได้จำกัดอยู่ที่บทเรียน"[55]

ดูเพิ่ม[แก้]

  • สังคมนิยมแบบอิสรนิยม
  • ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม
  • เศรษฐศาสตร์แบบมีส่วนร่วม
  • ลัทธิอิงสามัญชน
  • การลงประชามติ
  • สังคมธิปไตย
  • เผด็จการโดยเสียงข้างมาก

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. "Direct democracy", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕, (รัฐศาสตร์) ประชาธิปไตยโดยตรง
  2. "Democracy". World Book Encyclopedia, World Book Inc. 2006. the direct participation of citizens is known as direct democracy[ลิงก์เสีย]
  3. "Pure democracy". Merriam-Webster Dictionary.
  4. "Pure democracy". American Heritage Dictionary. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2012-02-26.
  5. ↑ 5.0 5.1 Budge, Ian (2001). "Direct democracy". ใน Clarke, Paul A.B.; Foweraker, Joe (บ.ก.). Encyclopedia of Political Thought. Taylor & Francis. ISBN 9780415193962.
  6. ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 Smith, Graham (2009). Democratic Innovations: Designing Institutions for Citizen Participation (Theories of Institutional Design). Cambridge: Cambridge University Press. p. 112.
  7. ↑ 7.0 7.1 7.2 Hirschbühl 2011a.
  8. ↑ 8.0 8.1 8.2 Hirschbühl 2011b.
  9. ↑ 9.0 9.1 9.2 Hirschbühl 2011c.
  10. ↑ 10.0 10.1 10.2 Hirschbühl 2011d.
  11. ↑ 11.0 11.1 Fishkin 2011, Chapters 2 & 3.
  12. ↑ 12.0 12.1 12.2 Ross 2011, Chapter 3
  13. Raaflaub, Ober & Wallace 2007, p. 5
  14. ↑ 14.0 14.1 Cary & Scullard 1967
  15. ↑ 15.0 15.1 15.2 15.3 Kobach 1993
  16. Rushkoff, Douglas (2004). Open Source Democracy. Project Gutenburg: Project Gutenberg Self-Publishing.
  17. Henderson, J (1993). Sommerstein, AH; Halliwell, S; Henderson, J; Zimmerman, B (บ.ก.). Comic Hero versus Political Elite. Tragedy, Comedy and the Polis. Bari: Levante Editori. pp. 307–19.
  18. Elster 1998, pp. 1-3
  19. ↑ 19.0 19.1 19.2 19.3 Golay, Vincent; et Remix, Mix (2008). Swiss political institutions. Éditions loisirs et pédagogie. ISBN 978-2-606-01295-3.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  20. ↑ 20.0 20.1 "Referendums". ch.ch - A service of the Confederation, cantons and communes. Berne, Switzerland: Swiss Confederation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-13. สืบค้นเมื่อ 2017-01-09.
  21. Slater, Julia (2013-06-28). "The Swiss vote more than any other country". Berne, Switzerland: swissinfo.ch - the international service of the Swiss Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 2015-07-27.
  22. Nguyen, Duc-Quang (2015-06-17). "How direct democracy has grown over the decades". Berne, Switzerland: swissinfo.ch - the international service of the Swiss Broadcasting Corporation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-21. สืบค้นเมื่อ 2015-07-27.
  23. Trechsel (2005)
  24. Bryan, Frank M. (2010-03-15). "Real Democracy: The New England Town Meeting and How It Works". University of Chicago Press. สืบค้นเมื่อ 2017-04-27 – โดยทาง Google Books.
  25. Madison, James (1787-11-22). "The Federalist No. 10 - The Utility of the Union as a Safeguard Against Domestic Faction and Insurrection (continued)". Daily Advertiser. สืบค้นเมื่อ 2007-09-07.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  26. Zagarri 2010, p. 97
  27. Magleby, David B (1984). Direct Legislation: Voting on Ballot Propositions in The United States. Johns Hopkins University Press.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  28. Zimmerman, Joseph F (1999-03). The New England Town Meeting: Democracy In Action. Praeger Publishers. CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  29. ↑ 29.0 29.1 29.2 29.3 Zimmerman, Joseph F (1999-12). The Initiative: Citizen Law-Making. Praeger Publishers. CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  30. Watts 2010, p. 75
  31. ↑ 31.0 31.1 31.2 Cronin, Thomas E. (1989). Direct Democracy: The Politics of Initiative, Referendum and Recall. Cambridge, MA: Harvard University Press.
  32. "Recall Of State Officials". National Conference of State Legislatures. 2011.
  33. Stokes 1998 ซูซาน สโตรกส์กล่าวในเรียงความสำคัญชื่อว่า "พยาธิของการปรึกษาหารือ" ยอมรับว่า นักวิชาการโดยมากมีความเห็นเช่นนี้
  34. Jarinovska, K (2013). "Popular Initiatives as Means of Altering the Core of the Republic of Latvia". Juridica International. 20: 152. ISSN 1406-5509.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  35. ฟิชกินแสดงนัยว่า พวกเขาอาจจะถูกรวมพลโดยกลุ่มที่ได้ประโยชน์ หรืออาจประกอบด้วยบุคคลที่เป็นเหยื่อการโฆษณาชวนเชื่อทางการเมือง ซึ่งก็จะทำให้มีความคิดเห็นที่ร้อนแรงหรือบิดเบือน
  36. "What is Direct Digital Democracy?". สืบค้นเมื่อ 2011-11-26.
  37. Kattamuri (2005). Supporting Debates Over Citizen Initiatives. Digital Government Conference. pp. 279–280.
  38. "List of active projects involved in the Metagovernment project". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-19. สืบค้นเมื่อ 2017-07-12.
  39. "List of related projects] from the Metagovernment project". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-24. สืบค้นเมื่อ 2017-07-12.
  40. "Standardization project of the Metagovernment project". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-07. สืบค้นเมื่อ 2017-07-12.
  41. "Electronic Voting in Switzerland". 2004. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-12. สืบค้นเมื่อ 2017-07-12.
  42. "Senator On-Line". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-07. สืบค้นเมื่อ 2008-06-03.
  43. "E2D International". Participedia wiki. 2011-01-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-10. สืบค้นเมื่อ 2017-10-10.
  44. "Direct Democracy". สืบค้นเมื่อ 2017-04-27.
  45. "Reform to Direct Democracy". www.paparty.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2016-07-23.
  46. "FLUX BRASIL". 2016.
  47. "พรรคมติประชา (People Vote Party)". www.peoplevote.info. สืบค้นเมื่อ 2018-11-9.
  48. "Facebook พรรคมติประชา (People Vote Party)". พัฒนาชาติจากเสียงของประชาชน. สืบค้นเมื่อ 2018-11-9.
  49. "ประกาศนายทะเบียนพรรคกการเมือง เรื่องรับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคมติประชา" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2018-09-06.
  50. "Anuchit Ngampattanapongchai". Facebook Anuchit Ngampattanapongchai @anuchitvoice. สืบค้นเมื่อ 2018-10-15.
  51. Membership Committee. "Young Communist League USA - Frequently Asked Questions". Yclusa.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-11. สืบค้นเมื่อ 2010-05-02.
  52. Greenberg, D (1992). Education in America - A View from Sudbury Valley. Democracy must be Experienced to be Learned{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)[ต้องการเลขหน้า]
  53. Greenberg, D (1987). "The Sudbury Valley School Experience". Teaching Justice Through Experience. CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)[ต้องการเลขหน้า]
  54. Greenberg, D (1987). Free at Last - The Sudbury Valley School. Chapter 22, The School Meeting.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  55. "Summerhill closure threat lifted". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2010-03-11.

บรรณานุกรม[แก้]

  • Cary, M.; Scullard, H. H. (1967). A History Of Rome: Down To The Reign Of Constantine (2nd ed.). New York: St. Martin's Press.
  • Benedikter, Thomas E. (2021). When Citizens Decide by Themselves: An Introduction to Direct Democracy. Bozen: POLITiS. www.politis.it
  • Cronin, Thomas E. (1989). Direct Democracy: The Politics of Initiative, Referendum and Recall. Cambridge, MA: Harvard University Press.
  • Elster, Jon (1998). "Introduction". ใน Elster, Jon (บ.ก.). Deliberative Democracy. Cambridge Studies in the Theory of Democracy. Cambridge University Press. doi:10.1017/CBO9781139175005. ISBN 9780521592963. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-28. สืบค้นเมื่อ 2017-07-12.
  • Fishkin, James S. (2011). When the People Speak. Oxford University Press. ISBN 9780199604432.
  • Golay, Vincent (2008). Swiss Political Institutions. Illustrated by Mix & Remix. Le Mont-sur-Lausanne: Éditions loisirs et pédagogie. ISBN 9782606012953.
  • Gutmann, Amy; Thompson, Dennis F. (2004). Why Deliberative Democracy?. Princeton: Princeton University Press. ISBN 9780691120188. สืบค้นเมื่อ 8 April 2014.
  • Archived at Ghostarchive and the Wayback Machine: Hirschbühl, Tina (2011a), The Swiss Government Report 1, Federal Department of Foreign Affairs FDFA, Presence Switzerland – โดยทาง YouTube
  • Archived at Ghostarchive and the Wayback Machine: Hirschbühl, Tina (2011b), The Swiss Government Report 2, Federal Department of Foreign Affairs FDFA, Presence Switzerland – โดยทาง YouTube
  • Archived at Ghostarchive and the Wayback Machine: Hirschbühl, Tina (2011c), How Direct Democracy Works In Switzerland – Report 3, Federal Department of Foreign Affairs FDFA, Presence Switzerland – โดยทาง YouTube
  • Archived at Ghostarchive and the Wayback Machine: Hirschbühl, Tina (2011d), How People in Switzerland Vote – Report 4, Federal Department of Foreign Affairs FDFA, Presence Switzerland – โดยทาง YouTube
  • Archived at Ghostarchive and the Wayback Machine: Hirschbühl, Tina (2011e), Switzerland & the EU: The Bilateral Agreements – Report 5, Federal Department of Foreign Affairs FDFA, Presence Switzerland – โดยทาง YouTube
  • Kobach, Kris W. (1993). The Referendum: Direct Democracy In Switzerland. Dartmouth Publishing Company. ISBN 9781855213975.
  • Raaflaub, Kurt A.; Ober, Josiah; Wallace, Robert W. (2007). Origins of Democracy in Ancient Greece. Berkeley: University of California Press. ISBN 9780520932173.
  • Razsa, Maple. (2015) Bastards of Utopia: Living Radical Politics After Socialism. Bloomington: Indiana University Press.
  • Ross, Carne (2011). The Leaderless Revolution: How Ordinary People Can Take Power and Change Politics in the 21st Century. London: Simon & Schuster. ISBN 9781847375346.
  • Stokes, Susan C. (1998). "Pathologies of Deliberation". ใน Elster, Jon (บ.ก.). Deliberative Democracy. Cambridge Studies in the Theory of Democracy. Cambridge University Press. doi:10.1017/CBO9781139175005. ISBN 9780521592963. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-28. สืบค้นเมื่อ 2017-07-12.
  • Watts, Duncan (2010). Dictionary of American Government and Politics. Edinburgh University. p. 75. ISBN 9780748635016.
  • Zagarri, Rosemarie (2010). The Politics of Size: Representation in the United States, 1776–1850. Cornell University. ISBN 9780801476396.

อ่านเพิ่มเติม[แก้]

  • Arnon, Harel (January 2008). "A Theory of Direct Legislation" (LFB Scholarly)
  • Benedikter, Thomas (2021),When Citizens Decide By Themselves. An Introduction to Direct Democracy. POLITiS. www.politis.it
  • Cronin, Thomas E. (1989). Direct Democracy: The Politics Of Initiative, Referendum, And Recall. Harvard University Press.
  • De Vos et al (2014) South African Constitutional Law – In Context: Oxford University Press
  • Finley, M.I. (1973). Democracy Ancient And Modern. Rutgers University Press.
  • Fotopoulos, Takis, Towards an Inclusive Democracy: The Crisis of the Growth Economy and the Need for a New Liberatory Project (London & NY: Cassell, 1997).
  • Fotopoulos, Takis, The Multidimensional Crisis and Inclusive Democracy. (Athens: Gordios, 2005). (English translation of the book with the same title published in Greek).
  • Fotopoulos, Takis, "Liberal and Socialist 'Democracies' versus Inclusive Democracy", The International Journal of INCLUSIVE DEMOCRACY, vol.2, no.2, (January 2006).
  • Gerber, Elisabeth R. (1999). The Populist Paradox: Interest Group Influence And The Promise Of Direct Legislation. Princeton University Press.
  • Hansen, Mogens Herman (1999). The Athenian Democracy in the Age of Demosthenes: Structure, Principles and Ideology. University of Oklahoma, Norman (orig. 1991).
  • Köchler, Hans (1995). A Theoretical Examination of the Dichotomy between Democratic Constitutions and Political Reality. University Center Luxemburg.
  • Magleby, David B. (1984). Direct Legislation: Voting on Ballot Propositions in The United States. Johns Hopkins University Press.
  • Matsusaka John G. (2004.) For the Many or the Few: The Initiative, Public Policy, and American Democracy, Chicago Press
  • National Conference of State Legislatures, (2004). Recall of State Officials
  • Orr Akiva e-books, Free download: Politics without politicians – Big Business, Big Government or Direct Democracy.
  • Pimbert, Michel (2010). Reclaiming citizenship: empowering civil society in policy-making. In: Towards Food Sovereignty. //pubs.iied.org/pdfs/G02612.pdf? e-book. Free download.
  • Polybius (c.150 BC). The Histories. Oxford University, The Great Histories Series, Ed., Hugh R. Trevor-Roper, and E. Badian. Translated by Mortimer Chambers. Washington Square Press, Inc (1966).
  • Reich, Johannes (2008). An Interactional Model of Direct Democracy – Lessons from the Swiss Experience. SSRN Working Paper.
  • Serdült, Uwe (2014) Referendums in Switzerland, in Qvortrup, Matt (Ed.) Referendums Around the World: The Continued Growth of Direct Democracy. Basingstoke, Palgrave Macmillan, 65–121.
  • Verhulst Jos en Nijeboer Arjen Direct Democracy e-book in 8 languages. Free download.
  • Zimmerman, Joseph F. (March 1999). The New England Town Meeting: Democracy In Action. Praeger Publishers.
  • Zimmerman, Joseph F. (December 1999). The Initiative: Citizen Law-Making. Praeger Publishers.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • ประชาธิปไตยโดยตรง ที่เว็บไซต์ Curlie

  • INIREF Campaign for Direct Democracy GB
  • United Kingdom Direct Democracy Party

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก