ค่าธรรมเนียม หลักทรัพย์ บัวหลวง

  • Accept
  • Cancel

  1. การลงทุนในหน่วยลงทุนมิใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงของการลงทุน ผู้ลงทุนควรลงทุนในกองทุนรวม ดังกล่าวเมื่อเห็นว่าการลงทุนในกองทุนรวมเหมาะสมกับวัตถุประสงค์การลงทุนของตนและผู้ลงทุนยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนดังกล่าวได้
  2. กรณีของกองทุนรวมเปิด หากปรากฏว่ามีเหตุการณ์ไม่ปกติ ผู้ลงทุนอาจได้รับชำระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุน ล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน
  3. กรณีของกองทุนรวมเปิดที่ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง ในกรณีที่กองทุนเปิดไม่สามารถดำรงสินทรัพย์ สภาพคล่องได้ ผู้ลงทุนอาจไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ตามที่มีคำสั่งไว้
  4. กองทุนรวมเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากบริษัทจัดการกองทุนรวม ดังนั้น บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด จึงไม่มีภาระผูกพันในการชดเชยผลขาดทุนของกองทุนรวม ทั้งนี้ ผลการดำเนินการของกองทุนรวมไม่ได้ขึ้นอยู่กับสถานะทางการเงินหรือ ผลการดำเนินงานของ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด
  5. บริษัทจัดการอาจลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นเพื่อบริษัทจัดการเช่นเดียวกันกับที่บริษัทจัดการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นเพื่อกองทุนรวม โดยบริษัทจะจัดให้มีระบบงานที่ป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้ถือหน่วยลงทุน
  6. กรณีของกองทุนรวมที่มีการกระจายการลงทุนน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (specific fund) จะมีความเสี่ยงมากกว่าในเรื่องของการกระจุกตัวของการลงทุนในบริษัทใดบริษัทหนึ่งกรณีที่กองทุนรวมประสงค์จะลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ( Derivative ) เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ตอบแทนจากสัญญาดังกล่าว
  7. กรณีที่กองทุนรวมประสงค์จะลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ( Derivative ) เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ตอบแทนจากสัญญาดังกล่าว
    7.1 จะมีความเสี่ยงมากกว่ากองทุนรวมอื่น จึงเหมาะสมกับผู้ลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนสูงและรับความเสี่ยงได้สูงกว่าผู้ลงทุนทั่วไป
    7.2 ผู้ลงทุนควรลงทุนในกองทุนรวมดังกล่าวเมื่อมีความเข้าใจในความเสี่ยงของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และผู้ ลงทุนควรพิจารณาความเหมาะสมของการลงทุนโดยคำนึงถึงประสบการณ์การลงทุน วัตถุประสงค์การ ลงทุน และฐานะการเงินของผู้ลงทุนเอง
  8. ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวนให้เข้าใจและควรเก็บหนังสือชี้ชวนไว้เพื่อใช้อ้างอิงในอนาคต และเมื่อมีข้อสงสัยให้สอบถามผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนให้เข้าใจก่อนซื้อหน่วยลงทุน
  9. ในกรณีที่ผู้ลงทุนต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม ผู้ลงทุนสามารถขอหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลโครงการได้ที่บริษัทจัดการกองทุนรวมหรือผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืน
  10. ผู้ลงทุนสามารถตรวจดูข้อมูลที่อาจมีผลกระทบต่อการตัดสินใจลงทุน เช่น การทำธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้องได้ที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือโดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เนตของสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. (//www.sec.or.th)
  11. เฉพาะกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพและกองทุนรวมหุ้นระยะยาว
    11.1 ผู้ลงทุนไม่สามารถนำหน่วยลงทุนของกองทุนไปจำหน่าย โอน จำนำ หรือนำไปเป็นประกัน (เฉพาะกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพและกองทุนรวมหุ้นระยะยาว)
    11.2 ผู้ถือหน่วยลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีหากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน และจะต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับภายในกำหนดเวลา มิฉะนั้นจะต้องชำระเงินเพิ่ม และ/หรือเบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากรด้วย ดังนั้นผู้ลงทุนควรศึกษาเงื่อนไขการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพและกองทุนรวมหุ้นระยะยาวให้เข้าใจ รวมทั้งสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและขอรับคู่มือภาษีที่บริษัทจัดการหรือผู้ขายหน่วยลงทุน อนึ่งในการนำค่าซื้อหน่วยลงทุนไปขอยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้ถือหน่วยลงทุนจะต้องนำหนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และกองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่ออกโดยบริษัทจัดการไปยื่นพร้อมกับการยื่นแบบ ภงด. 90 หรือ ภงด. 91 แล้วแต่กรณี
  12. ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
  13. การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน
  14. การวัดผลการดำเนินงานของกองทุนบนเว็บไซด์นี้ได้จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการวัดผลการดำเนินงาน ของ กองทุนรวมของสมาคมบริษัทจัดการลงทุน
  15. บริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไข ปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลใด ๆ ในเว็บไซด์นี้ได้โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งล่วงหน้าแต่อย่างใด
  16. บริษัทและผู้บริหาร รวมถึงพนักงานเจ้าหน้าที่ของบริษัท ขอสงวนสิทธิที่จะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายทุกกรณี ที่เกิดขึ้นกับข้อมูล หรือระบบสื่อสารของผู้เข้าเยี่ยมชม หรือผู้ลงทุน อันเนื่องมาจากการเข้ามาใช้เว็บไซด์นี้
  17. บริษัทจัดการอนุญาตให้พนักงานลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อตนเองได้ โดยจะต้องปฏิบัติตามจรรยาบรรณ และประกาศต่าง ๆ ที่สมาคมบริษัทจัดการลงทุนกำหนด และจะต้องเปิดเผยการลงทุนดังกล่าวให้บริษัทจัดการ เพื่อที่บริษัทจัดการจะสามารถกำกับและดูแลการซื้อขายหลักทรัพย์ของพนักงานได้
  18. ผู้ลงทุนสามารถตรวจดูแนวทางในการใช้สิทธิออกเสียงและการใช้สิทธิออกเสียงได้ที่ www.bblam.co.th

  • Accept
  • Cancel

ค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์คิดอย่างไร ?

  • Created February 4, 2016
  • Category FAQ, ซื้อขายหุ้นและอนุพันธ์
  • Comments 23

กรณีส่งคำสั่งผ่านทาง Internet

1 ) บัญชีประเภท Cash Balance (ไม่กำหนดขั้นต่ำในการลงทุน)

อัตราค่าธรรมเนียม 0.15% (ไม่รวม VAT) และไม่มีค่าธรรมเนียมขั้นต่ำจำนวน 100 บาท หากเข้าเงื่อนไขทั้ง 2 ข้อดังนี้

1.1 ส่งคำสั่งเองทาง internet
1.2 ใช้บริการ E-Services (รับใบยืนยันการซื้อขายผ่านทาง Email)
* ทั้งนี้ หากไม่เข้าเงื่อนไข 2 ข้อดังกล่าว จะคิดค่าธรรมเนียมขั้นต่ำ 100 บาท/วัน

2) บัญชีประเภท Cash Collateral

อัตราค่าธรรมเนียม 0.20% (ไม่รวม VAT) และมีค่าธรรมเนียมขั้นต่ำจำนวน 100 บาท/วัน

กรณีส่งคำสั่งผ่านทางเจ้าหน้าที่การตลาด

ทั้งบัญชีประเภท Cash Balance และ Cash Collateral อัตราค่าธรรมเนียม 0.25% (ไม่รวม VAT) และมีค่าธรรมเนียมขั้นต่ำจำนวน 100 บาท/วัน

หมายเหตุ

• อัตราดังกล่าวยังไม่รวมค่าธรรมเนียมตลาดหลักทรัพย์ฯ (Trading Fee) 0.005%, ค่าธรรมเนียมการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ (Clearing Fee) 0.001% และค่าธรรมเนียมการกำกับดูแล (Regulatory Fee) 0.001% รวม 0.007% ของมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ต่อวัน

บทความนี้เป็นประโยชน์กับท่านหรือไม่

23 ความคิดเห็นสำหรับบทความนี้

  1. กนกวรรณ แจ้งจิต

    5 years ago

    ขอโทษนะคะถ้าสมมุติว่าเราซื้อหุ้นในราคา 7.05บาทจำนวน1000หุ้นโดยการสั่งซื้อทางinternetเอง เราจะคำนวณยังไงคะว่าเราจะถูกหักเงินหรือจ่ายเงินเท่าไรคะ

    1. OIC

      5 years ago

      วิธีในการคำนวณค่าคอมมิชชั่น จำนวนหุ้น x ราคาหุ้น x ค่าคอมมิชชั่น 0.157% x VAT 7%
      สามารถคำนวนได้ ดังนี้ค่ะ 1,000 x 7.05 x 0.00157 x 1.07 นะคะ

    2. Kritthanit

      3 years ago

      เห็นหลายคนสงสัยเรื่องตัวเลข 1.07 มายังไง ผมอธิบให้ฟังดังนี้นะครับ
      (ผมพยายามอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ก็เลยอาจจะยาวหน่อยนะครับ)

      ค่าคอมฯ = ราคาหุ้น x จำนวนหุ้น x ค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายให้โบรคเกอร์ x vat 7%
      ให้แยกคำนวณเป็น 2 ส่วนดังนี้นะครับ

      A = ราคาหุ้น x จำนวนหุ้น x ค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายให้โบรคเกอร์

      และ vat 7% ตัวหลังนั่นก็คือจำนวนเงิน 7% ของ A ครับ ดังนั้นถ้าเขียนแยกออกมาก็จะได้
      vat7% = A x 0.07

      ดังนั้น…
      ค่าคอม = A + vat7% หรือ….
      ค่าคอม = A + (Ax0.07)

      คราวนี้ลองแทนค่าดูนะครับ
      A = 7.05 x 1000 x 0.00157 = 11.0685
      vat7% = A x 0.07 = 0.7748
      ค่าคอม = A + vat7% = 11.0685 + 0.7748 = 11.8433 บาท

      แล้วตัวเลข 1.07 มาได้ยังไง?
      มันมาจากการแปลงสูตรคำนวณนี้ครับ
      ค่าคอม = A + (Ax0.07)
      ใช้วิธีแยกตัวแปรตามหลักคณิตศาสตร์จะได้
      ค่าคอม = A x ( 1 + (1×0.07) )
      ค่าคอม = A x ( 1 + 0.07 )
      ค่าคอม = A x 1.07
      พอแทนค่า A กลับ ก็เลยกลายเป็น….
      ค่าคอม = (ราคาหุ้น x จำนวนหุ้น x ค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายให้โบรคเกอร์) x 1.07
      ลองคำนวณดูนะครับ
      ค่าคอม = (7.05 x 1000 x 0.00157) x 1.07
      ค่าคอม = 11.0685 x 1.07 = 11.8433 บาท
      จะเห็นว่าตัวเลขเท่ากันกับด้านบนเลย และนี่คือที่มาของตัวเลข 1.07 นั่นเองครับ

      1. OIC

        3 years ago

        ขอบคุณสำหับคำแนะนำนะคะ

        ทั้งนี้การคำนวณค่า Commission ดังนี้ (ราคาหุ้น x จำนวนหุ้น x ค่า Commission 0.00157 x 1.07) จะเป็นค่า Commission รวมกับ VAT 7% นะคะ

  2. Anonymous

    5 years ago

    สอบถามค่ะ ขึ้นช่อง status .. x cancel คืออะไรคะ พอดีเป็นมือใหม่หัดเล่นค่ะ

  3. Anonymous

    5 years ago

    อยากทราบวิธีการคิดค่าธรรมเนียมและอัตราดอกเบี้ย ในการเทรด Block Trade ครับ

  4. Anonymous

    5 years ago

    1,000 x 7.05 x 0.00157 x 1.07
    1.07 มายังไงครับ ในเมื่อ VAT 7% = 0.07
    1,000 x 7.05 x 0.00157 คือ ค่าคอมมิชชั่น
    1.07 = (1 + 0.07)
    ดังนั้น 1,000 x 7.05 x 0.00157 x 1.07 = ค่าคอมมิชชั่น x (1 + 0.07)
    = ค่าคอมมิชชั้น + (ค่าคอมมิชชั่น x 0.07)
    ทั้งหมดนี้หมายความว่า เราต้องจ่ายทั้ง ค่าคอมมิชชั่น และ ค่าภาษีจากค่าคอมมิชชั่น ด้วยใช่มั๊ยครับ

    1. OIC

      5 years ago

      ทั้งนี้การซื้อและขายหลักทรัพย์ จะถูกคิดด้วยค่าธรรมเนียมการซื้อขาย 0.157% และ VAT 7% ค่ะ
      ตัวอย่างการคำนวณ เช่น 1,000 จำนวนหุ้น X 7.05 ราคาหุ้น x 0.00157 ค่าธรรมเนียม X 1.07 Vat ค่ะ
      ค่าธรรมเนียและ Vat ที่ต้องจ่ายเป็นจำนวนเงิน 11.84 บาทนะคะ

    2. Anonymous

      4 years ago

      เขาไม่ได้คิดซ้ำหรอกครับ
      1000*1.07 = 1000+(1000*0.07)

      1. OIC

        4 years ago

        ค่าธรรมเนียมการซื้อขายสามารถคำนวณได้โดย นำราคาหุ้น X จำนวนหุ้น X 0.157% X 1.07 นะคะ

      2. OIC

        4 years ago

        การคำนวณค่าธรรมเนียมการซื้อขายสามารถคำนวณได้โดย ราคาหุ้น X จำนวนหุ้น X 0.157% X 1.07 ค่ะ

  5. aeder

    5 years ago

    มือใหม่หัดเล่นครับ บัญชีผมเป็นแบบ Cash Balance ถ้าวันที่ผมมีการซื้อขายแล้วค่าธรรมเนียมไม่ถึง 100 บาท วันนั้นผมต้องเสีย 100 บาทเต็มเลยหรือเปล่าครับ
    และถ้าวันไหนไม่มีการซื้อขาย ผมก็จะไม่เสีย 100 บาทใช่หรือเปล่าคับ
    แต่ถ้าผมทำตามเงื่อนไขทั้ง 2 ข้อ ผมก็ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมขั้นต่ำ 100 บาท แต่จะเสียตามจริงที่ซื้อขาย ถูกต้องหรือเปล่าครับ

    1. OIC

      5 years ago

      ค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์ประเภทบัญชี cash balance นั้นจะถูกคิดตามจริงต่อเมื่อมีการซื้อและขายค่ะ โดยค่าธรรมเนียมการซื้อขายจะถูกคิดที่ 0.157% + VAT 7% ค่ะ ไม่มีขั้นต่ำในการลงทุนนะคะ

Comment navigation

บัวหลวงมีขั้นต่ำไหม

บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) (“บริษัท”) แจ้งประกาศเปลี่ยนแปลงการทำรายการฝากและถอนเงินหลักประกันของบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ บัญชีซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และบัญชีอื่นของบริษัท โดยกำหนดจำนวนเงินขั้นต่ำในการทำรายการเป็นจำนวน 3,000 บาทต่อครั้ง สำหรับการทำรายการที่จำนวนเงินน้อยกว่าที่บริษัทกำหนด จะมีอัตรา ...

ซื้อหุ้นเสียค่าธรรมเนียมไหม

ค่าธรรมเนียมตลาดหลักทรัพย์ฯ (SET Trading Fee) : 0.005% ของมูลค่าการซื้อขายต่อวัน ค่าธรรมเนียมการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ (TSD Clearing Fee) : 0.001% ของมูลค่าการซื้อขายต่อวัน ค่าธรรมเนียมการกำกับดูแล : 0.001% ของมูลค่าการซื้อขายต่อวัน

เปิดพอร์ตหุ้น บัวหลวง ต้องมีเงินเท่าไร

อัตราค่าธรรมเนียม 0.15% (ไม่รวม VAT) และไม่มีค่าธรรมเนียมขั้นต่ำจำนวน 100 บาท หากเข้าเงื่อนไขทั้ง 2 ข้อดังนี้ 1.1 ส่งคำสั่งเองทาง internet. 1.2 ใช้บริการ E-Services (รับใบยืนยันการซื้อขายผ่านทาง Email) * ทั้งนี้ หากไม่เข้าเงื่อนไข 2 ข้อดังกล่าว จะคิดค่าธรรมเนียมขั้นต่ำ 100 บาท/วัน

เปิดพอร์กุ้นบัวหลวงออนไลน์ใช้เวลากี่วัน

หลักทรัพย์บัวหลวง ส่งบริการ “เปิดบัญชีหุ้นออนไลน์แบบใหม่” อนุมัติทันใจ ภายใน 15 นาที เพื่อผู้ลงทุนยุคดิจิทัล พร้อมชูจุดเด่น ง่าย สะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องเดินทางไปยืนยันตัวตนที่สาขา เพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมผู้ลงทุนยุคใหม่ที่นิยมทำธุรกรรมต่าง ๆ ด้วยตัวเอง

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก