มดดํากับเพลี้ย

เพลี้ยอ่อนเป็นแมลงที่มีขนาดเล็กเท่าหัวเข็ม ลำตัวอ่อนนุ่มสีเขียวอ่อนไปจนถึงสีดำเข้ม ตัวอ่อนที่ฟักออกมาจะมีขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อน นัยน์ตาดำ มีขา 3 คู่ หนวดสั้น รูปร่างลักษณะคล้ายตัวเต็มวัย

ตัวอ่อนของ เพลี้ยอ่อน มีการลอกคราบเพื่อการเจริญเติบโต โดยสีของลำตัวจะเข้มขึ้นเรื่อยๆ ตัวเต็มวัย 1 ตัวสามารถออกลูกได้ถึง 6-11 ตัว/วัน ในระยะเป็นตัวอ่อนนั้นจะมีการลอกคราบ 4 ครั้ง ตัวอ่อนมีอายุประมาณ 5-6 วัน หลังจากนั้นจะพัฒนาเป็นตัวเต็มวัย สามารถขยายพันธุ์ได้เองโดยไม่อาศัยเพศ ขนาดโตเต็มวัยสามารถใหญ่ได้แค่ 1 มิลลิเมตร มีทั้งแบบมีปีกและไม่มีปีก ระยะตัวเต็มวัยมีชีวิตอยู่ได้นาน 6-41 วัน ตัวเต็มวัยตัวหนึ่งสามารถออกลูกได้ตลอดชีวิต ประมาณ 75-450 ตัว มักระบาดในช่วยฤดูแล้งที่ฝนขาดช่วงนาน

ถึงตัวจะเล็กแบบนี้ แต่ก็สร้างความเสียหายให้สวนของเราได้มากทีเดียว มักพบเจ้าวายร้ายตัวนี้ในไม้ดอก เช่น กุหลาบ เบญจมาศ ชวนชม หรือผักพื้นบ้านของไทยอย่างถั่ว ผักบุ้ง แตงอ่อน หรือกะหล่ำปลี เป็นแมลงที่มีปากแบบแทงดูดขนาดเล็ก (Piercing Sucking) ชอบดูดกินน้ำเลี้ยงตามใบ ยอด หรือดอก ทําให้มีอาการใบหงิกงอ ใบเหลืองร่วง ต้นไม่แตกยอดอ่อน ไม่ออกดอก ดอกเหี่ยวและอ่อนแอ

นอกจากนี้ยังเป็นตัวแสบที่แพร่เชื้อไวรัสให้ต้นไม้อีกด้วย เรามักพบว่า เพลี้ยอ่อน ชอบอยู่กับมด โดยเมื่อเห็นเจ้ามดออกมาเดินพาเหรดกันแล้ว ถัดไปอีก 1-2 วันก็จะคาบเพลี้ยอ่อนและเพลี้ยแป้งมาวางตามยอดอ่อนหรือดอกตูมด้วย เนื่องจากเพลี้ยเดินทางระยะไกลไม่ได้ ต้องอาศัยมด และเจ้ามดก็จะได้ประโยชน์จากการอาศัยกินน้ำหวานที่เพลี้ยอ่อนปล่อยออกมาหลังดูดน้ำเลี้ยงมากิน ซึ่งเราจะเห็นเป็นคราบราดํานั่นเอง

การกำจัด เพลี้ยอ่อน

ควรเริ่มที่มดซึ่งเป็นตัวพาหะก่อน ถ้าเป็นต้นไม้ที่ปลูกประดับในบ้านและยังไม่เสียหายมากนัก ให้ใช้มือขยี้ทําลายฝูงมดที่เป็นพาหะ เช่นเดียวกับการหมั่นรดน้ำต้นไม้อยู่เสมอให้ดินมีความชื้นเพียงพอ เพราะมดไม่ชอบความชื้นและน้ำ ส่งผลให้เพลี้ยอ่อนไม่สามารถมาถึงต้นไม้ของเราได้ นอกจากนี้ยังมีสูตรการกำจัดต่างๆที่น่าสนใจ อาทิ

บอระเพ็ด + แช่น้ำ

1.สับบอระเพ็ดเป็นชิ้นเล็กๆ หรือบดเมล็ดสะเดา โดยนำไปแช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน จากนั้นกรองเอาแต่น้ำ นำไปฉีดพ่นตามต้นไม้ เมื่อเจ้าเพลี้ยตัวดีเจอรสขมๆ ของน้ำดังกล่าวที่แทรกไปกับน้ำเลี้ยงของต้นไม้ ก็จะทำให้พวกมันไม่กลับมากินอีก

พริกแห้ง + น้ำ + น้ำสบู่

2 บดพริกแห้ง ประมาณ 100 กรัมให้ละเอียด จากนั้นผสมกับน้ำปริมาณ 1 ลิตร ทิ้งไว้ 1วัน จากนั้นกรองแต่น้ำมาผสมน้ำสบู่ในอัตราส่วน 5 ต่อ 1 เพื่อเป็นสารเคลือบผิว แล้วฉีดพ่นกําจัดเพลี้ยอ่อนทุก 7วัน (อย่าให้ถูกผิวหนัง เพราะอาจแสบร้อนระคายเคืองได้)

สารมาลาไทออน

3 หากจําเป็นต้องใช้สารฆ่าแมลง ควรใช้สารมาลาไทออนฉีดพ่นติดต่อกัน 2-3 ครั้ง

แมลงเต่าทอง 

ในธรรมชาติยังมีแมลงนักล่าที่ช่วยกำจัดเพลี้ยอ่อนได้เป็นจำนวนมากโดยที่เราไม่ต้องทำอะไรเลย เช่น แมลงเต่าทอง แมลงวันดอกไม้ ตัวต่อ ตั๊กแตน หรือแม้แต่แมงมุมเองก็ทอใยดักเพลี้ยอ่อนที่มีปีกบินได้ด้วย เพียงแค่ลองเลิกใช้สารเคมีกำจัดแมลงในธรรมชาติ แมลงเหล่านี้ก็จะมาช่วยเรากำจัดศัตรูที่แท้จริงของต้นไม้ได้

มดและเพลี้ยบางชนิดมีความสัมพันธ์กันในลักษณะที่สัตว์ต่างชนิดช่วยเหลือกันและกันเพื่อการอยู่รอด เพลี้ยเป็นแมลงขนาดเล็กเคลื่อนไหวช้า อาศัยอยู่บนพืชกินน้ำหวานที่ดูดจากลำต้นพืชด้วยปากยาวปลายแหลม

จากนั้นน้ำหวานที่กินเข้าไปจะถูกย่อยเป็นสารประเภทน้ำตาล ที่เรียกว่า หยดน้ำหวาน ซึ่งจะปล่อยออกมาทางอวัยวะพิเศษที่เรียกว่า คอร์นิเคิล ซึ่งมีลักษณะเป็นท่อเล็กๆอยู่ที่ปลายสุดของส่วนท้อง หยดน้ำหวานเป็นอาหารโปรดของมด ที่ทำฟาร์มเพลี้ย ซึ่งจะกินมากเท่าที่เพลี้ยจะสามารถผลิตได้ และด้วยการมีฝูงเพลี้ยเป็นของตัวเองมดก็จะได้รับอาหารอยู่ตลอดเวลา

ดังนั้นเพื่อให้ได้หยดน้ำหวานตลอดเวลามดจะดูแลเพลี้ยเป็นอย่างดี เช่น มดจะย้ายเพลี้ยไปยังบริเวณที่เพลี้ยจะมีน้ำหวานเพียงพอ และเมื่อไหร่ที่บริเวณนั้นมีเพลี้ยมากไปมดก็จะพาเพลี้ยย้ายไปบริเวณอื่น ซึ่งมีพื้นที่กว้างขวางขึ้น มดจะทำร้ายแมลงอื่นที่พยายามจะฆ่าเพลี้ยแม้ว่าผู้รุกรานนั้นจะมีขนาดโตกว่ามดมากมายก็ตาม

มดกินน้ำหวานในตัวเพลี้ย

มดจะใช้หนวดถูที่บริเวณท้องของเพลี้ยงซึ้งจะทำให้เพลี้ยปล่อยหยดน้ำหวานออกมา ซึ่งมดจะดื่มจากคอร์นิเคิล ของเพลี้ย

แมลงเต่าทองกินเพลี้ย

แมลงเต่าทองเป็นศัตรูตามธรรมชาติของเพลี้ย และเมื่อไหร่ที่แมลงเต่าทองโจมตีเพลี้ยมดจะร่วมกันขับไล่เต่าทอง

นักวิทยาศาสตร์ไม่แน่ใจว่าความสัมพันธ์ที่น่าสนใจนี้เริ่มขึ้นเมื่อไหร่ แต่จากการค้นพบซากโบราณของมดและเพลี้ยอยู่ด้วยกัน แสดงให้เห็นว่า แมลงทั้งสองชนิดนี้ได้ช่วยเหลือกันมาในลักษณะนี้อย่างน้อยก็นานกว่า 30 ล้านปี

เพลี้ยแป้งกับมดอาศัยกันแบบใด

ไม้ผลของเกษตรกรอยู่ก็เป็นได้ โดยมดจะคอยพาพวกเพลี้ยไปหากินตามส่วนต่างๆ ของพืช และให้การคุ้มครองพวกเพลี้ยจากศัตรูอื่นๆ ในขณะเดียวกันพวกเพลี้ยจ่ายค่าจ้างให้กับมดเป็นน้ำหวานที่พวกเพลี้ยขับออกมา เรียกว่า honeydew ซึ่งพวกมดนั้นชอบมาก มนุษย์ได้เรียกความสัมพันธ์ของมดกับเพลี้ยในลักษณะนี้ว่า เป็นความสัมพันธ์แบบ ภาวะพึ่งพากัน ( ...

มดกับเพลี้ย ใช้ประโยชน์ กันและกัน อย่างไร

สำหรับผลประโยชน์ที่มดได้จากเพลี้ยก็คือหยดน้ำหวานที่ออกมาจากบั้นท้ายตัวเพลี้ย โดยมดจะใช้หนวดตีเบาๆ ไปทีหลังของตัวเพลี้ย เหมือนเป็นสัญญาณโดยธรรมชาติ ตัวเพลี้ยจะตอบสนองโดยปล่อยหยดน้ำหวานออกมาให้มดดูดกิน พฤติกรรมของมดและเพลี้ยเช่นนี้ถือเป็นการดำรงชีวิแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันโดยแท้

ใช้อะไรกําจัดเพลี้ย

2. กำจัดเพี้ยแบบใช้พืช สารเคมีในครัว 2.1. ใช้น้ำส้มสายชู 1 ฝา ผสมกับน้ำเปล่า 2-3 ลิตร พอให้เจือจาง นำไปผสมกับน้ำยาล้างจานอีกเล็กน้อย แล้วฉีดพ่นที่ตัวเพลี้ย ไม่นานเพลี้ยจะหายไป.
เหล้าขาว 2 ขวด.
น้ำส้มสายชู5% 1 ลิตร.
สารอีเอ็ม 1 ลิตร.
กากน้ำตาล 1 ลิตร.
น้ำสะอาด 10 ลิตร.

เพลี้ยอ่อนกำจัดยังไง

การกำจัดด้วยวิธีธรรมชาติคือไม่ต้องใช้สารเคมี เกษตรกรสามารถทำได้ด้วยการใช้ผงซักฟอก โดยใช้ความเข้มข้น 5 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นไปยังบริเวณที่พบเพลี้ยอ่อน ในช่วงเช้าหรือเย็น และใช้เหยื่อกำจัดมด หรือกำจัดเพลี้ยอ่อนและมด โดยใช้เชื้อรา บิวเวอร์เรีย 250 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในช่วงเช้าหรือเย็นควบคู่กันด้วย

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก