การปฏิบัติตนในครอบครัว ป. 4

    เด็กดีของครอบครัว  หมายถึง เด็กที่ปฏิบัติตนให้เป็นที่รักใคร่ของบิดามารดา  และญาติผู้ใหญ่ในครอบครัว เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา เป็นต้น นักเรียนสามารถปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัวได้โดยปฏิบัติ ดังนี้

    1. มีความกตัญญูกตเวทีต่อบิดา มารดาและญาติผู้ใหญ่ในครอบครัว เชื่อฟังคำสั่งสอนของบิดา มารดาและญาติผู้ใหญ่ในครอบครัว

    2. มีสัมมาคารวะต่อบิดามารดาและญาติผู้ใหญ่  รู้จักกล่าวคำขอบคุณ  ขอโทษ  และไหว้ผู้ใหญ่  ปฏิบัติตนตามข้อตกลง กฎกติกา  ระเบียบของครอบครัว

    3. มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในการทำกิจกรรมของครอบครัว  มีระเบียบวินัย  มีน้ำใจ  ช่วยเหลืองานบ้าน  มีเหตุผล  และยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

     เด็กดีของโรงเรียน  หมายถึง  เด็กที่ปฏิบัติตนให้เป็นที่รักใคร่ของครูอาจารย์และสมาชิกทุกคนในโรงเรียน  นักเรียนสามารถปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของโรงเรียนได้  โดยปฏิบัติดังนี้

    1. เคารพและปฏิบัติตามกฏระเบียบของโรงเรียนและเชื่อฟังและมีสัมมาคารวะต่อครูอาจารย์

    2. ขยันหมั่นเพียรในการศึกษาหาความรู้มีส่วนร่วมในกิจกรรมของห้องเรียน  และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น พูดจาไพเราะ สุภาพเรียบร้อย

    3. รักษาความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของโรงเรียนและรักษาทรัพย์สินของโรงเรียน

     คนดีไม่ว่าจะอยู่ในสังคมใดย่อมทำให้สังคมนั้น  มีแต่ความสุขความสุขและความเจริญ  การทำความดีที่ส่งผลให้เกิดความสุขและความเจริญ  ได้แก่

     1. ความมีระเบียบวินัย คือ การปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนและข้อบังคับของครอบครัวและโรงเรียนที่กำหนดไว้ เช่น
          การแต่งเครื่องแบบนักเรียน การแสดงความเคารพ การเก็บภาชนะอาหารให้เป็นที่ เป็นต้น

     2. ความรับผิดชอบ คือการทำสิ่งต่าง ๆ ตามหน้าที่ของตนเอง เช่น การตรงต่อเวลา ตั้งใจเรียนหนังสือ เป็นต้น

     3. ความเมตตากรุณา คือ ความรักและปรารถนาดีอยากให้ผู้อื่นมีความสุข เช่น ช่วยเหลือผู้ที่อ่อนแอกว่า การบริจาคสิ่งของคนยากจน เป็นต้น

     4. ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ คือ การช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความตั้งใจจริง โดยไม่มุ่งหวังสิ่งตอบแทน แบ่งปันสิ่งต่างๆ ให้แก่ผู้อื่น เช่น
          แบ่งของเล่นให้น้อง แบ่งอาหารหรือขนมให้เพื่อน เป็นต้น

     5. ความซื่อสัตย์สุจริต คือ การปฏิบัติตนในสิ่งที่ถูกต้องดีงามทั้งกาย วาจา และใจ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง เช่น ไม่พุดโกหกหลอกลวง
          ไม่ลอกการบ้านหรือข้อสอบ ไม่ลักขโมย ไม่เอาของผู้อื่นมาเป็นของตน เป็นต้น

     6. ความกตัญญูกตเวที คือ การสำนึกในบุญคุณของผู้อื่นที่ช่วยเหลือ เช่น มีความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่ ครูอาจารย์ เป็นต้น

     7. ความขยัน อดทน อดกลั้น คือ มีความมุ่งมั่นตั้งใจ และทำสิ่งต่าง ๆ ให้สำเร็จตามที่ตั้งใจ

         //innovation.kpru.ac.th/web17/551121705/innovation/index.php/1

เมือนักเรียนศึกษาเรื่อง การปฏิบัติตนเป็นสมาชิกของครอบครัว แล้ว นักเรียนสามารถบอกได้ว่า

การปฏิบัติตนเป็นสมาชิกของครอบครัวอย่างเหมาะสมจะทำให้สมาชิกของครอบครัวมีความรักใคร่ผูกพันกัน และสามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

เนื้อหาการศึกษาเรื่อง การปฏิบัติตนเป็นสมาชิกของครอบครัว

  1. นักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับการปฏิบัติตนตามหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัว โดยตอบคำถาม ดังนี้
    • สมาชิกในครอบครัวของนักเรียนมีกี่คน ใครบ้าง
    • พ่อแม่ ผู้ปกครองของนักเรียนมีหน้าที่อะไร
    • พี่น้องของนักเรียนมีหน้าที่อะไร
    • นักเรียนมีหน้าที่อะไร
    • นักเรียนคิดว่าสมาชิกในครอบครัวของตนเองปฏิบัติหน้าที่ได้เหมาะสมหรือไม่ อย่างไร
  2. นักเรียนศึกษาความรู้และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเป็นสมาชิกของครอบครัวจากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น หนังสือเรียน อินเทอร์เน็ต
  3. นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเป็นสมาชิกของครอบครัวโดยตอบคำถาม ดังนี้
    • การปฏิบัติตนของสมาชิกในครอบครัวของนักเรียนส่งผลต่อทุกคนอย่างไร
    • ถ้าครอบครัวเป็นครอบครัวที่อบอุ่นจะเกิดผลต่อสมาชิกในครอบครัวอย่างไร
    • ถ้าทุกครอบครัวในสังคมเป็นครอบครัวที่อบอุ่นจะเกิดผลต่อสังคมอย่างไร
  4. นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น โดยตอบคำถามกระตุ้นความคิด ดังนี้
    • วัฒนธรรมมีผลต่อการดำรงชีวิตของคนในสังคมอย่างไร
  5. นักเรียนเขียนเรียงความ เรื่อง “ครอบครัวที่ฉันอยากให้เป็น” ความยาวไม่ต่ำกว่า 1 หน้ากระดาษ A4

สรุปสิ่งที่เข้าใจเป็นความรู้ร่วมกัน

การปฏิบัติตนเป็นสมาชิกของครอบครัวอย่างเหมาะสมจะทำให้สมาชิกของครอบครัวมีความรักใคร่ผูกพันกัน และสามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

  • ป.5

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก