หลักฐานใดที่ทำให้ทราบว่าประเทศไทยมีการระเบิดของภูเขาไฟ

เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม คริสตศักราช 1465 ผู้คนต่างตื่นเต้นกับภาพที่ได้เห็นในงานพิธีอภิเษกสมรสของกษัตริย์อัลฟองโซที่สองแห่งเนเปิลส์ กับสตรีผู้สูงศักดิ์เชื้อสายผู้ครองนครมิลาน แต่ภาพตระการตาที่ผู้คนกล่าวขวัญกันนั้น ไม่ใช่พิธีที่จัดขึ้นอย่างอลังการ แต่เป็นท้องฟ้าเหนือแคว้นเนเปิลส์ที่มืดมิดลงอย่างฉับพลันทั้งที่เป็นเวลากลางวัน ดวงอาทิตย์เปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินเข้ม บางคนมองเห็นหมอกควันลอยขึ้นสู่ท้องฟ้าด้วย

หลายเดือนนับจากนั้น ภูมิอากาศทั่วยุโรปเปลี่ยนแปลงผันผวนรุนแรงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เกิดฝนตกหนักในเยอรมนีชนิดที่น้ำฝนชะดินหน้าหลุมศพออกไปมากจนชิ้นส่วนของศพข้างใต้เริ่มโผล่ขึ้นมา เกิดน้ำท่วมหนักในโปแลนด์และอีกหลายแห่ง สี่ปีต่อมาอากาศเริ่มหนาวเย็นรุนแรงจนเรียกได้ว่าทั่วทั้งยุโรปเข้าสู่ยุคน้ำแข็งอีกครั้ง แม้แต่ในเมืองโบโลนญาของอิตาลี หิมะตกหนักและแม่น้ำลำคลองกลายเป็นน้ำแข็ง จนชาวเมืองต้องใช้ม้าลากเลื่อนเพื่อเดินทางไปบนคลองน้ำแข็งนั้น

ปรากฏการณ์แปลกประหลาดทั้งหมด เป็นผลมาจากการระเบิดครั้งใหญ่ของภูเขาไฟขนาดยักษ์ลูกหนึ่งในเขตร้อน ซึ่งพ่นกลุ่มควันและเถ้าถ่านปริมาณมหาศาลออกมาปกคลุมโลก จนทำให้อุณหภูมิโลกเย็นลงและเกิดช่วงทศวรรษที่หนาวเย็นที่สุดในรอบหลายร้อยปีหลังจากนั้น

มีบันทึกโบราณของจีนระบุถึงเหตุหิมะตกหนักในพื้นที่ต่ำกว่าลุ่มน้ำแยงซีลงมาและชายฝั่งทะเลเหลืองกลายเป็นน้ำแข็งในช่วงกลางศตวรรษที่ 15 ในขณะเดียวกันจักรวรรดิแอซเทคในภูมิภาคเมโสอเมริกาต้องเผชิญกับความแห้งแล้งอดอยากเพราะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน

การระเบิดของภูเขาไฟดังกล่าวที่ไม่มีผู้ทราบชัดว่าตั้งอยู่ที่ใดนี้ มีความรุนแรงยิ่งกว่าการระเบิดของภูเขาไฟตัมบอราในปี 1815 ซึ่งปลดปล่อยพลังงานออกมาเท่ากับระเบิดปรมาณู "เด็กชายตัวน้อย" (Little Boy ) ที่ทิ้งใส่เมืองฮิโรชิมา 2.2 ล้านลูก การระเบิดของภูเขาไฟปริศนาได้ทิ้งร่องรอยที่ยืนยันถึงหายนะครั้งดังกล่าวในช่วงกลางศตวรรษที่ 15 เอาไว้ทั่วโลก ตั้งแต่ทวีปแอนตาร์กติกาไปจนถึงกรีนแลนด์ โดยชั้นน้ำแข็งในทั้งขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ได้ดูดซับเอากรดกำมะถันที่มากับกลุ่มควันและเถ้าถ่านถูเขาไฟเอาไว้ ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถยืนยันช่วงปีที่เกิดเหตุการณ์นี้ได้ จากการเจาะแกนน้ำแข็งขึ้นมาวิเคราะห์หาช่วงที่มีความเป็นกรดสูง

คำบรรยายภาพ,

เถ้าถ่านจากภูเขาไฟปริศนาทำให้เกิดหิมะกรดกำมะถันตกลงปกคลุมทั่วทั้งขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้

อย่างไรก็ตาม บรรดานักวิทยาศาสตร์ซึ่งเพิ่งมาให้ความสนใจกับปรากฏการณ์ภูเขาไฟระเบิดครั้งนี้เอาเมื่อช่วงทศวรรษ 1980 ก็ยังไม่ทราบได้ว่าภูเขาไฟลึกลับนี้ตั้งอยู่ที่ใดกันแน่ มีนักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มให้ความสนใจกับตำนานภูเขาไฟในอดีตของเกาะแห่งหนึ่งในวานูอาตู โดยเห็นว่าภูเขาไฟในตำนานดังกล่าวซึ่งปัจจุบันน่าจะจมอยู่ใต้มหาสมุทรไปแล้ว อาจเกิดการระเบิดครั้งใหญ่ขึ้นตรงกับช่วงกลางศตวรรษที่ 15 พอดี

มีนักวิทยาศาสตร์หลายคณะพากันมาตรวจสอบหลักฐานที่บ่งชี้ถึงการมีอยู่ของภูเขาไฟดังกล่าว ซึ่งมีชื่อว่า "คูวาเอ" โดยตำนานท้องถิ่นเล่าว่า คูวาเอเคยตั้งอยู่บนแผ่นดินใหญ่ที่เชื่อมเกาะสองแห่ง แต่เกิดปะทุระเบิดรุนแรงจนทำลายตัวเองและผืนแผ่นดินที่ตั้งอยู่ให้จมทะเลลงไปทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตาม ในภายหลังได้พบว่าเหตุการณ์ดังกล่าวน่าจะเกิดก่อนเหตุระเบิดของภูเขาไฟปริศนาที่กำลังค้นหาหลายสิบปี และภูเขาไฟคูวาเอนั้นมีขนาดเล็กเกินไปกว่าที่จะทำให้เกิดการระเบิดที่ส่งผลสะเทือนทั่วโลกได้

อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ลงความเห็นว่า ภูเขาไฟปริศนาที่ว่านี้ควรจะต้องอยู่ในภูมิภาคที่เป็นเขตร้อนของโลก เพราะมวลอากาศอุณหภูมิสูงที่ลอยตัวขึ้นสู่ด้านบน จะดึงให้กลุ่มเมฆจากเถ้าถ่านภูเขาไฟลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศสูง ซึ่งจะทำให้กลุ่มหมอกควันเหล่านี้คงสภาพอยู่บนนั้นได้นานหลายปี รวมทั้งแพร่กระจายเป็นวงกว้างออกปกคลุมทั่วโลก เนื่องจากลมในบรรยากาศชั้นบนมีแนวโน้มจะพัดออกจากเขตร้อนไปยังขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ เชื่อว่าภูเขาไฟขนาดยักษ์ที่มีคุณสมบัติเช่นนี้ น่าจะตั้งอยู่ในแถบแปซิฟิก เช่นตามหมู่เกาะในอินโดนีเซีย เมลานีเซีย โพลินีเซีย และไมโครนีเซีย

           11. ภูเขาไฟสามารถทำให้ดวงอาทิตย์ที่กำลังลับขอบฟ้า มีหลากหลายสีสัน อย่างเช่น การระเบิดของภูเขาไฟคาซาโตชิ (Kasatochi) ในอลาสกา เมื่อปี ค.ศ 2008 (พ.ศ.2551) คนทั่วโลกต่างให้ความสนใจกับแสงสีส้มในยามดวงอาทิตย์ตก และมีเลื่อมปะการังหลากสีสะท้อนออกมาที่ดูแปลกตา ซึ่งปรากฎการณ์นี้เกิดจากอนุภาคขนาดเล็กของเถ้าถ่านภูเขาไฟที่ลอยปะปนอยู่ในชั้นบรรยากาศ ไปทำให้รังสีของดวงอาทิตย์หักเห และสะท้อนแสงสีสันสวยงามออกมา

        ภูเขาไฟระเบิดใกล้ชุมชนทำให้เกิดมหันตภัยครั้งยิ่งใหญ่  แผ่นดินไหวทำให้อาคารพังพินาศ ถนนขาด และไฟไหม้เนื่องจากท่อแก๊สถูกทำลาย ธารลาวา กรวดและเถ้าภูเขาไฟที่ไหลลงมา (Pyroclastic flow) สามารถทับถมหมู่บ้านและเมืองที่อยู่รอบข้าง ถ้าภูเขาไฟอยู่ชายทะเล แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวจะทำให้เกิดคลื่นสึนามิขนาดยักษ์กระจายตัวออกไปได้ไกลหลายร้อยกิโลเมตร ฝุ่นและเถ้าภูเขาไฟสามารถปลิวไปตามกระแสลมเป็นอุปสรรคต่อการจราจรทางอากาศ แต่อย่างไรก็ตามภูเขาไฟระเบิดหนึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัฏจักรธรณีแปรสัณฐาน ซึ่งหมุนเวียนธาตุอาหารให้แก่ผิวโลก ดินที่เกิดจากการสลายตัวของหินภูเขาไฟ มีความอุดมสมบูรณ์สูงใช้ปลูกพืชพรรณได้งอกงาม แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งปล่อยออกมาจากปล่องภูเขาไฟ ทำให้พืชสามารถสังเคราะห์ธาตุอาหารด้วยแสง แมกมาใต้เปลือกนำแร่ธาตุและอัญมณีที่หายาก เช่น เพชร พลอย ขึ้นมา เป็นต้น และด้วยเหตุที่ภูเขาไฟนำมาซึ่งความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ ดังนั้นชุมชนจึงมักตั้งอยู่ที่เชิงภูเขาไฟ 

ไทยไม่ได้รับผลกระทบ ทั้งชายฝั่งทะเลอันดามันและชายฝั่งอ่าวไทย เนื่องจากเหตุที่เกิดขึ้นอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก และจุดภูเขาไฟระเบิดอยู่ห่างจากชายฝั่งทะเลบริเวณ จ.นราธิวาส ประมาณ 9,500 กิโลเมตร แต่มีการแชร์ข้อมูลจะเกิดสึนามิบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ทำให้กรมอุตุนิยมวิทยาของไทย ออกมาชี้แจงไม่เป็นความจริง

ภูเขาไฟใต้ทะเลลูกนี้ได้ปะทุมาก่อนหน้า จนทวีความรุนแรง และหน่วยงานกาชาดสากลคาดมีผู้ได้รับผลกระทบ 80,000 คน จากไฟฟ้า การสื่อสารต่างๆ ถูกตัดขาด และเถ้าถ่านภูเขาไฟ หรือละอองหินลาวากระจายไปทั่ว มีความเสี่ยงปนเปื้อนน้ำดื่มส่งผลต่อสุขภาพ ทำให้ทางการตองกา เตือนให้ประชาชนระวังและสวมหน้ากากป้องกัน

ย้อนไปเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2358 เคยเกิดการระเบิดของภูเขาไฟแทมโบรา เกาะซัมบาวา ประเทศอินโดนีเซีย มีความรุนแรงระดับ 7 เทียบเท่าระเบิดปรมาณู 6,000 ลูก เสียงดังก้องไปถึงเกาะสุมาตรา ซึ่งอยู่ไกล 1,930 กม. และสังเวยผู้คนไป 70,000 ศพ นอกจากนี้ฝุ่นเถ้าถ่านละอองภูเขาไฟได้ปะปนชั้นบรรยากาศ จนดวงอาทิตย์มืดสนิทนาน 2 วัน อุณหภูมิทั่วโลกลดลง 3 องศาเซลเซียส ทำให้ประเทศในยุโรปและอเมริกาเหนือ ไร้ฤดู ในปี 2359

ความน่ากลัวของภูเขาไฟที่ยังคงคุกรุ่น บนแนวเทือกเขารอบมหาสมุทรแปซิฟิกและก้นลึกมหาสมุทร หรือวงแหวนแห่งไฟครอบคลุม 31 ประเทศ ตั้งแต่ทวีปออสเตรเลีย ทวีปเอเชีย ทวีปอเมริกาเหนือ และทวีปอเมริกา ความยาวรวมกัน 40,000 กม. ก่อให้เกิดปรากฏการณ์แผ่นดินไหว 90% บนโลก และส่วนใหญ่ 80% เป็นเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่เคยเกิดขึ้น

ปัจจุบันไทยมีภูเขาไฟลูกหลังสุด 8 แห่ง แต่ดับสนิทหมดแล้ว โดย 6 แห่งใน จ.บุรีรัมย์ มีภูเขาไฟหินพนมรุ้ง ภูเขาไฟอังคาร ภูเขาไฟหินหลุบ ภูเขาไฟคอก ภูเขาไฟกระโดง และภูเขาไฟไปรบัด และอีก 2 แห่งใน จ.ลำปาง มีภูเขาไฟดอยผาดอกจำปาแดด และภูเขาไฟดอยหินคอกผาฟู

ความเป็นไปได้ที่ภูเขาไฟเหล่านี้ในไทย จะปะทุขึ้นมาอีกได้หรือไม่ “ดร.ประหยัด นันทศีล” ภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อธิบายว่า ไทยเคยมีการระเบิดของภูเขาไฟมาก่อนในช่วงล้านกว่าปี ถึง 10,000 ปี แต่ปัจจุบันไม่แอกทีฟโดยสภาพแวดล้อม หรือรอยต่อทางธรณีหยุดชนกันแล้ว แต่ยังมีภูเขาไฟอายุใหม่ๆ ใน จ.บุรีรัมย์ และลำปาง ยังคงมีรูปทรงภูเขาไฟ แม้ไฟดับสนิทแล้ว แต่มีโอกาสจะปะทุขึ้นมาอีกได้แต่น้อยมากๆ เพราะดับไปเมื่อ 1 แสนปีแล้ว และไม่ได้อยู่แนวมุดตัวเหมือนภูเขาไฟใน จ.เลย และเพชรบูรณ์ เมื่อ 300 ล้านกว่าปีก่อน

ขณะที่งานวิจัยเชื่อว่าหากหินร้อนเสียดสีกันมากขึ้น มายังใต้เปลือกโลกแล้วบางลง จนเกิดจุดความร้อนเป็นปัจจัยเร่งให้เกิดการหลอมละลาย และยกตัวของแมกมาใต้เปลือกโลก แทรกตัวออกจากผิวโลกทางปล่องภูเขาไฟ จนเกิดการปะทุขึ้นมาอีก แต่สามารถป้องกันได้ จึงไม่น่ากังวลภูเขาไฟในไทย

ดร.ประหยัด นันทศีล

แต่สิ่งที่กังวลคือ หมู่เกาะนิโคบาร์ อยู่บนรอยแยกของเปลือกโลกในทะเลอันดามัน ยังมีภูเขาไฟที่มีพลังเป็นแนวยาว ซึ่งห่างจากไทยบริเวณชายฝั่ง จ.ภูเก็ต และพังงา 600 กว่า กม. จะต้องจับตามอง และไทยต้องเตรียมพร้อมตรวจสอบระบบเตือนภัย รวมถึงการให้ความรู้ในการอพยพคน

“ภูเขาไฟระเบิด ทำให้ผิวโลกสั่นสะเทือน แต่ไม่รุนแรงเท่ากับการมุดตัวของเปลือกโลก ก่อให้เกิดการสูญเสีย แต่การสูญเสียมากน้อยขึ้นอยู่กับว่าพื้นที่ได้รับผลกระทบมีมนุษย์ตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยเยอะหรือไม่ ซึ่งบริเวณหมู่เกาะนิโคบาร์ ไล่มาตั้งแต่เมียนมา จนถึงเกาะสุมาตรา ระยะทางพันกว่ากิโลเมตร มีภูเขาไฟลูกเล็กลูกน้อย และที่ผ่านมายังไม่แอกทีฟเท่าไร ยังไม่ยืนยันความเสียหาย ส่วนไทย ให้ระวังแถวๆ เกาะสุมาตรา เป็นแนวมุดตัวของเปลือกโลก ก่อให้เกิดเหตุคลื่นสึนามิเมื่อปี 2547”

อีกทั้งเปลือกโลกแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีอายุ 600 ล้านปี เมื่อเวลาผ่านไปเปลือกโลกจะหนาขึ้น หากมีจุดความร้อนหรือฮอตสปอต มากระแทกทำให้เกิดการกระจายตัวของภูมิศาสตร์ ไม่สามารถทำนายได้ว่าจะเกิดในจุดใด แต่ประวัติศาสตร์ของอายุธรณีวิทยา จะเปลี่ยนไปมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เปลือกโลกเป็นมหาทวีป มีการแตกออกและรวมกันทุกๆ 500 ล้านปี จนจุดความร้อนของโลกที่เป็นฐานกัมมันตรังสี เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา และเมื่อคายรังสีก็จะเกิดความร้อนในแกนโลกจนเกิดการระบายถ่ายเทความร้อนตามกลไก

จากความกังวลบริเวณหมู่เกาะนิโคบาร์ ในมหาสมุทรอินเดีย ยังห่วงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับไทยบริเวณประเทศฟิลิปปินส์ แต่ใช้เวลานานกว่าจะมาถึงไทย ทำให้มีการเตรียมพร้อมอพยพคนได้ แต่หากเกิดขึ้นในหมู่เกาะนิโคบาร์ เหมือนปี 2547 เชื่อว่ายังสร้างความเสียหายให้กับไทยโดยเฉพาะสิ่งปลูกสร้าง แม้มีการซักซ้อมอยู่เป็นประจำ แต่ความสูญเสียด้านชีวิตจะน้อยลง

สาเหตุการเกิดแผ่นดินไหว ยังมาจากการทดลองปรมาณู และอุกกาบาตตกใส่โลก นอกจากการเลื่อนตัวของรอยเลื่อน และภูเขาไฟที่เกิดการเสียดสีของเปลือกโลกที่มุดตัว ทำให้เกิดสึนามิเพราะน้ำกระเพื่อมบริเวณน้ำตื้นจนน้ำยกขึ้นสูง โดยเถ้าถ่านที่ปะทุออกมาจะก่อมลภาวะทางอากาศ เนื่องจากมีโลหะหนักจากลาวา เป็นพวกตะกั่ว แคดเมียม สังกะสี และก่อให้เกิดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์เป็นอันตรายต่อปอด หรือแม้แต่ทองคำ และสิ่งที่เกิดขึ้นในตองกา ขอให้ไทยเตรียมพร้อมอยู่ตลอดเวลาในการรับมือ ป้องกันการสูญเสียโดยเฉพาะชีวิตคน.

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก