แม่บทการบัญชี ปรับปรุง ล่าสุด

ฉบับที่อ้างอิงจากมาตรฐานการบัญชีของสหรัฐอเมริกา (US GAAP) เช่น
               TAS 102 การรับรู้รายได้สำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
               TAS 104 การบัญชีสำหรับการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา
               TAS 105 การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน
               TAS 106 การบัญชีสำหรับกิจการที่ดำเนินธุรกิจเฉพาะด้านการลงทุน

ฉบับที่ไม่ได้อ้างอิงจากมาตรฐานสากล (Local GAAP) เช่น
               TAS 101 หนี้สงสัยจะสูญและหนี้สูญ

ฉบับที่อ้างอิงจาก IFRS ที่ยกเลิกแล้ว
               TAS 14 การเสนอข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงาน
               TAS 48 การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลสำหรับเครื่องมือทางการเงิน
               TAS 103 การเปิดเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินของธนาคารและสถาบันการเงินที่คล้ายคลึงกัน

การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน
               IFRIC 15 สัญญาก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์

แนวปฏิบัติทางการบัญชี
               

แนวปฏิบัติทางการบัญชีสำหรับการบันทึกบัญชีสิทธิการเช่า
                แนวปฏิบัติทางการบัญชีสำหรับการรวมธุรกิจภายใต้การควบคุมเดียวกัน

โดยยกเว้นการบังคับใช้กับธุรกิจที่ไม่ใช่บริษัทมหาชนจำกัดตามประกาศสภาวิชาชีพฉบับที่ 21/2550 เรื่องการยกเว้นการบังคับใช้มาตรฐานการบัญชี
               TAS 7 งบการแสเงินสด
               TAS 14 การเสนอข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงาน
               TAS 24 การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลและกิจการที่เกี่ยวข้องกัน
               TAS 27 งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ
               TAS 28 เงินลงทุนในบริษัทร่วม
               TAS 31 ส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า
               TAS 36 การด้อยค่าของสินทรัพย์
               TAS 48 การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลสำหรับเครื่องมือทางการเงิน

               TAS และ TFRS เหล่านี้ต้องถือปฏิบัติกับทุกกิจการสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1มกราคม 2554 โดยสภาวิชาชีพบัญชี ฯ
จะยกเว้นการบังคับใช้ TAS  และหรือ  TFRS บางฉบับให้กับกิจการที่มิใช่กิจการที่มีส่วนได้เสียต่อสาธารณะ    อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่  24 ธันวาคม 2553
สภาวิชาชีพบัญชีฯได้ออกประกาศฉบับที่  62/2553  เรื่องคำชี้แจงเกี่ยวกับการจัดทำมาตรฐานการบัญชีสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียต่อสาธารณะ
ว่าเนื่องจากกิจการในประเทศไทยกว่าร้อยละ 90 เป็นกิจการขนาดเล็กและเป็นกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียต่อสาธารณะ การกำหนดให้ทุนกิจการต้องปฏิบัติ
ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับใหม่อาจไม่เหมาะสม  และเพื่อเป็นการบรรเทาภาระของกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียต่อสาธารณะ  และส่งเสริมให้
กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียต่อสาธารณะสามารถจัดทำและนำเสนองบการเงินได้อย่างถูกต้องและเป็นมาตรฐานเดียวกัน จึงของให้กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสีย
ต่อสาธารณะจัดทำบัญชีสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2554 โดยใช้มาตรฐานการบัญชีที่ปฎิบัติอยู่เดิมไปพลางก่อน
ทั้งนี้ สภาวิชาชีพบัญชีฯอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาจัดทำมาตรฐานการบัญชีสำหรับ NPAEs และคาดว่าจะสามารถออกประกาศใช้มาตรฐานการบัญชี
เฉพาะกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียต่อสาธารณะ (TFRS for SME) ภายในต้นปี 2554

นอกจากนี้ TAS และ TFRS บางฉบับที่มีเนื้อหาและวิธีปฏิบัติยากจะเลื่อนบังคับใช้กับงบการเงินที่มีรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มต้นในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2556

กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียต่อสาธารณะ (Non-Publicly Accountable Entities) หมายถึง กิจการที่ไม่ใช่กิจการดังต่อไปนี้
                กิจการที่มีตราสารทุนหรือตราสารหนี้ของกิจการซึ่งมีการซื้อขายในตลาดสาธารณะ (ไม่ว่าจะเป็นตลาดหลักทรัพย์ในประเทศหรือต่างประเทศ
                   หรือการซื้อขายนอกตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งตลาดในท้องถิ่นและในภูมิภาค) หรือ กิจการที่นำส่งหรืออยู่ในกระบวนการของการนำส่งงบการเงิน
                   ของกิจการให้แก่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือหน่วยงานกำกับดูแลอื่นเพื่อวัตถุประสงค์ในการออกขาย
                   หลักทรัพย์ใดๆ ในตลาดสาธารณะ หรือ
                กิจการที่ดำเนินธุรกิจหลักในการดูแลทรัพย์สินของกลุ่มบุคคลภายนอกในวงกว้าง เช่น สถาบันการเงิน บริษัทประกัน บริษัทหลักทรัพย์
                   กองทุนรวมและตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
                บริษัทมหาชน ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชน
                กิจการอื่นที่จะกำหนดเพิ่มเติม

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก